...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2563
หน้า: 93-104
ประเภท: บทความวิจัย
View: 304
Download: 222
Download PDF
ผลการพัฒนาความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Effects on Development of Knowledge, Understanding and Problem-Solving Ability in Physics Entitled Force and Motion Based on Metacognition Strategy for Mathayomsuksa 4 Students
ผู้แต่ง
สุภาวดี แก้วก่า, อุษา ปราบหงษ์, ธนานันต์ กุลไพบุตร
Author
Supvadee Kaeka, Usa Prabhong, Thananan Kunpaibutr

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนที่เรียน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ของนักเรียนที่เรียน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3) เปรียบเทียบความสามารถด้านเมตาคอกนิชันของนักเรียนที่เรียน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 4) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดงมะไฟวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .82 แบบวัดความสามารถด้านเมตาคอกนิชัน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .89 และแบบวัดเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าที (t- test ชนิด Dependent Samples และชนิด One Sample) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความรู้ความเข้าใจของนักเรียนที่เรียน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ ของนักเรียนที่เรียน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความสามารถด้านเมตาคอกนิชันของนักเรียนที่เรียน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. เจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were: 1) to compare students’ knowledge and understanding on Force and Motion before and after learning through metacognition strategy, and posttest mean scores with the criteria set of 70 percent of full score, 2) to compare students’ problem-solving ability in Physics entitled Force and Motion before and after learning through metacognition strategy, and posttest mean scores with the criteria set of 70 percent of full score, 3) to compare students’ ability in terms of metacognition before and after learning the topic of Force and Motion, and posttest mean score with the criteria set of 70 percent of full score, and 4) to compare students’ attitudes toward Physics subject before and after the intervention. The sample group, obtained through cluster random sampling, was 32 Mathayomsuksa 4 students studying in the first semester of academic year 2019 at Dongmafaiwittaya School under the Secondary Educational Service Area Office 23. The research instruments consisted of lesson plans entitled Force and Motion with the overall mean score of appropriateness at 4.70, a test concerning knowledge and understanding with the reliability of 0.92, a problem-solving ability test with the reliability of 0.89, and an assessment form of student attitudes toward Physics subject with the reliability of 0.82. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, dependent samples t-test and one sample t-test. The findings were as follows: 1. The posttest mean score of students’ knowledge and understanding in Physics entitled Force and Motion based on metacognition strategy was higher than the pretest mean score and the set criteria of 70 percent of full score at the .01 statistical significance level. 2. The posttest mean score of students’ problem-solving ability in Physics entitled Force and Motion based on metacognition strategy was higher than the pretest mean score and the set criteria of 70 percent of full score at the .01 statistical significance level. 3. The posttest mean score of students’ ability of metacognition after learning Physics entitled Force and Motion was higher than the pretest mean score and the set criteria of 70 percent of full score at the .01 statistical significance level. 4. The posttest mean score of students’ attitudes toward Physics subject was higher than the pretest mean score at the .01 statistical significance level.

คำสำคัญ

ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา, ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน

Keyword

Problem-Solving Ability, Metacognition Strategy
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 9

วันนี้: 89

เมื่อวานนี้: 1,202

จำนวนครั้งการเข้าชม: 972,326

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033