...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2563
หน้า: 65-72
ประเภท: บทความวิจัย
View: 254
Download: 75
Download PDF
การศึกษาสภาพและความต้องการฝึกอบรมวิจัยทางการศึกษาพิเศษ ของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
The study of Conditions and Needs assessment training in Special Education Research for student in Sakon Nakhon Rajabhat University
ผู้แต่ง
รัชดาพรรณ อินทรสุขสันติ
Author
Ratchadapan Intarasuksanti

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาความรู้ความสามารถเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา 2) เพื่อศึกษาความรู้ความสามารถเกี่ยวกับแนวทางการทำวิจัยทางการศึกษาพิเศษ 3) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการเกี่ยวกับการทำวิจัยทางการศึกษาและวิจัยทางการศึกษาพิเศษ และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิจัยทางการศึกษาและวิจัยทางการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้ทำวิจัยกำหนดขนาดโดยใช้ Krejcie & MorKan จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามมีทั้งหมด 5 ตอน คือ ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ความรู้ความสามารถด้านระเบียบวิธีวิจัย ความรู้ความสามารถด้านการวิจัยทางการศึกษาพิเศษ ความต้องการต่อการจัดอบรมการทำวิจัยทางการศึกษาพิเศษ และข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความต้องการฝึกอบรมวิจัยทางการศึกษาพิเศษและข้อเสนอแนะ โดยตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ (Face Validity) 5 ท่าน ปรากฏว่าทุกคำถามผ่านเกณฑ์มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ .60 ขึ้นไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ความสามารถในการทำวิจัยของผู้ตอบแบบสอบถามในภาพรวมจัดอยู่ในระดับขั้นเข้าใจ (ค่าเฉลี่ย 2.14) 2) ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับแนวทางการทำวิจัยทางการศึกษาพิเศษ ในแต่ชั้นปี แต่ละด้านมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน 3) ความต้องการเกี่ยวกับการทำวิจัยทางการศึกษาพิเศษส่วนใหญ่เห็นด้วยในการจัดอบรมวิจัยทางการศึกษาพิเศษ อยู่ในระดับเห็นด้วย (ค่าเฉลี่ย 4.36) และ 4) ความต้องการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิจัยทางการศึกษาพิเศษ (ร้อยละ 78.75) ซึ่งมากกว่า วิจัยทางการศึกษา (ร้อยละ 21.25)

Abstract

The objectives of this research were : 1) to study the knowledge and competencies in educational research; 2) to study the knowledge and ability of special education research. 3) to compare the needs for educational research and special education research; and 4) to compare the training needs of educational research and special education research. Research samples Researchers randomized using Krejcie & MorKan, 80 persons. The basic questionnaire consisted of 5 parts. Knowledge of research methodology. Special Education research ability. Needs to training of special education research. And additional information on special education training needs and recommendations. The accuracy of the questionnaire by 5 experts (Face Validity) showed that every question passed the criterion had consistency index of .60 and above. The statistic used in analyzing data were percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA were used. The research findings were as follows: 1)  knowledge and competencies in educational research was at the level of comprehension (mean 2.14). 2) knowledge and competencies in conducting special educational research in each area of the year the mean was not different. 3) most of needs for training in special education research were agreed at of special educational research at the agreed level (4.36). and 4) needs for training related to research on special education (78.75 percent) than educational research (21.25 percent).

คำสำคัญ

สภาพ, ความต้องการจำเป็น, วิจัยทางการศึกษาพิเศษ

Keyword

Conditions, Need Assessment, Special Education research
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 116

วันนี้: 640

เมื่อวานนี้: 471

จำนวนครั้งการเข้าชม: 826,192

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033