บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรมลพิษทางอากาศ เพื่อเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรมลพิษทางอากาศ เพื่อเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 และ 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรมลพิษทางอากาศ เพื่อเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) จุดหมาย 3) มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด 4) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 6) สาระการเรียนรู้ 7) โครงสร้างหลักสูตร 8) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 9) สื่อการเรียนรู้ และ 10) การวัดและประเมินผล จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.19, S.D. = 0.67) 2. ผลการใช้หลักสูตร นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 11.71 (S.D. = 3.92) และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 21.94 (S.D. = 3.83)
Abstract
The purposes of this research were 1) to develop an air pollution curriculum to enhance problem solving ability for grade 8 students and 2) to study the result of implementation. The sample selected by Cluster Random Sampling was 35 grade 8 students of Chaehom Wittaya School, Lampang province. The research instruments were composed of 1) The Air Pollution Curriculum to Enhance Problem Solving Ability for Grade 8 Students and 2) the test of problem solving ability. The data was statistically analyzed by mean, standard deviation, and t-test (t-test for Dependent Samples). The research findings were: 1. The Air Pollution Curriculum to Enhance Problem Solving Ability for Grade 8 Students consisted of 1) principles 2) curriculum objectives 3) content standards and benchmarks 4) competencies of learners 5) desired characteristics 6) contents 7) course outline 8) learning process 9) learning materials and 10) assessment. The curriculum was instructed by using problem-based learning. The evaluation of curriculum quality in terms of the appropriateness of the curriculum elements showed that the appropriateness of the curriculum was at a high level ( = 4.19, S.D. = 0.67). 2. The result of implementation on students’ problem solving ability scores after learning was higher than before learning. Differences were statistically significant at .05, and that the score before learning is equal to 11.71 (S.D. = 3.92) and after learning equal to 21.94 (S.D. = 3.83).
คำสำคัญ
หลักสูตรมลพิษทางอากาศ, ความสามารถในการแก้ปัญหาKeyword
Air Pollution Curriculum, Problem Solving Abilityกำลังออนไลน์: 20
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,230
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,218
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033