...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2563
หน้า: 21-31
ประเภท: บทความวิจัย
View: 244
Download: 179
Download PDF
การยกระดับสมรรถนะด้านการออกแบบชุดการสอนภาษาจีนของนักศึกษาครูภาษาจีน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ
Competence Development in Designing Chinese Instructional Packages of Students Majoring in Chinese Teaching Using a Creative and Productive Learning Model
ผู้แต่ง
บัณศิกาญจ ตั้งภากรณ์
Author
Bunsikan Tangpakorn

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการยกระดับสมรรถนะด้านการออกแบบชุดการสอนภาษาจีนของนักศึกษาครูภาษาจีนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาการสอนภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่เรียนในรายวิชาการฝึกปฏิบัติวิชาชีพ 1 จำนวน 24 คน ซึ่งใช้เวลาในการทดลอง 1 ภาคการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินรับรองความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น 2) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบชุดการสอนภาษาจีน 3) แบบประเมินความสามารถในการออกแบบชุดการสอนภาษาจีน และ 4) แบบประเมินคุณภาพของชุดการสอนภาษาจีน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t แบบ Paired Samples t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบค่า Z แบบวิลคอกซัน (Wilcoxon signed-rank test) ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวการออกแบบชุดการสอนภาษาจีนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P ≤ 0.05) ในทุกกลุ่มเรียน 2. ระหว่างเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น นักศึกษามีความสามารถในการออกแบบชุดการสอนภาษาจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P ≤ 0.05) ในทุกช่วงเวลาของการประเมิน 3. หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น นักศึกษาผลิตชุดการสอนภาษาจีนที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P ≤ 0.05) ในทุกองค์ประกอบของการประเมินคุณภาพ

Abstract

The objective of this research was to study the effects of enhancing the competency in designing Chinese instructional package of students majoring in Chinese Teaching using a Creative and Productive Learning model. The samples were 24 students, majoring in Chinese Teaching from Faculty of Humanities and Social Sciences, Lampang Rajabhat University, who studied the Practicum in Professional Course 1. This research took 1 semester. The research instruments consisted of: 1) an assessment form to confirm suitability and feasibility of the developed model, 2) a test of knowledge and understanding of the design of Chinese instructional packages, 3) an assessment form of students’ abilities in designing Chinese instructional packages, and 4) a quality assessment form of Chinese instructional packages. the assessment of the ability to design Chinese instructional packages and The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, paired samples t-test, one-way analysis of variance (One-way ANOVA), and Wilcoxon signed-rank test. The results of this research showed that: 1. After learning through the developed learning management model, students’ knowledge and understanding of designing Chinese instructional packages were significantly higher than those before learning (p ≤ 0.05) in all study groups. 2. When using the developed learning management model during the evaluation period, students were observed to have significantly increased their abilities in designing Chinese instructional packages (p ≤ 0.05) at all the evaluation periods. 3. After learning through the developed learning management model, students were observed to have produced significantly higher quality of Chinese instructional packages (p ≤ 0.05) in all components of the quality assessment.

คำสำคัญ

นักศึกษาครูภาษาจีน, การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ, ชุดการสอนภาษาจีน

Keyword

Students Majoring in Chinese Teaching, Creative and Productive Learning, Instructional Package
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 292

เมื่อวานนี้: 652

จำนวนครั้งการเข้าชม: 771,897

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033