บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับครูผู้สอนโรงเรียนบ้านม่วงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิภาพและการปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านม่วงวิทยา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ หลักสูตรฝึกอบรมการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความสอดคล้องและความเหมาะสมของหลักสูตร มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 และมีความเหมาะสมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.60-0.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.41-0.70 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 และแบบประเมินความพึงพอใจมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.50-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรมการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับครูผู้สอนโรงเรียนบ้านม่วงวิทยา มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ 1) หลักการและเหตุผล 2) จุดมุ่งหมาย 3) โครงสร้างเนื้อหา 4) กิจกรรมการฝึกอบรม และ 5) การวัดและประเมินผล 2. หลักสูตรฝึกอบรมการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับครูผู้สอนโรงเรียนบ้านม่วงวิทยา พบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจหลังเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการปฏิบัติการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของครูผู้สอนโรงเรียนบ้านม่วงวิทยา อยู่ในระดับดีมาก และ 3) ความพึงพอใจของครูผู้สอนโรงเรียนบ้านม่วงวิทยาที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The objective of the present study was to devlop and investigate the efficiency of a training curriculum on crearthing electronic books for teachers. The research procedures were divided into 2 phases. The frist phase was curriculum development, and the second phase was the efficiency evaluation and improvement of the training curriculum. The sample group consisted of 30 teachers from Ban Muang Wittaya School. The research instruments employed in data collection were a training curriculum on creating electronic books with IOC index between 0.80-1.00 and appropriateness at very good level; comprehensive test on cresting electronic books, with difficulty index between 0.60-0.80, discrimination index between 0.41-0.70 and reliabillty index at 0.94; an operational skill evaluation form, with IOC index between 0.50-1.00. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test. The findings revealed that: 1. The training curriculum on creating electronic books for teachers comprised of five main components, namely (1) principles and rationale; (2) objectives; (3) content structure; (4) training activities and evaluation. 2. The efficiency of the training curriculum on creating electronic books for teachers revealed that (1) teachers’ knowledge and understanding of creating electronic books after training was higher than before training with statistical significance at .01 level, (2) teachers’ operational skills of creating electronic books was at the highest level, and (3) teachers’ satisfactions toward the training curriculum was at the highest level.
คำสำคัญ
การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรฝึกอบรม, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์Keyword
Curriculum Development, Training Curriculum, Electronic bookกำลังออนไลน์: 19
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,202
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,191
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033