บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้เป็นผลจากการวิจัย เรื่อง จัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีแอพพลิเคชั่นเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับครูการศึกษาพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อจัดการองค์ความรู้จากผลการวิจัยทางด้านแอพพลิเคชั่นที่ตอบสนองต่อการพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับครูการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษผ่านแอพพลิเคชั่นครูการศึกษาพิเศษ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมต่อการใช้แอพพลิเคชั่นครูการศึกษาพิเศษ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวนทั้งหมด 342 คน ประกอบด้วย ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และอุดรธานี) จำนวน 82 คน ครูสังกัดศูนย์การศึกษาพิเศษ จำนวน 50 คน ครูสังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 10 คน และนักศึกษาครูการศึกษาพิเศษชั้นปีที่ 1–5 สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย แอพพลิเคชั่นครูการศึกษาพิเศษ (SPED Teacher) ระบบแอนดอรยด์และระบบไอโอเอส ชุดฝึกอบรมการใช้แอพพลิเคชั่นครูการศึกษาพิเศษเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษของครูการศึกษาพิเศษ แบบทดสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จำนวน 30 ข้อ โดยการสลับข้อและสลับคำตอบในการนำไปใช้ทดสอบแต่ละครั้ง มีความตรงเชิงเนื้อหา มีค่า IOC 0.60-1.00 มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20–0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30–1.00 มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.53 แบบสำรวจ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าสถิติพื้นฐานและการวัดเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการองค์ความรู้เพื่อนำมาจัดทำชุดฝึกอบรมมีเนื้อหาการอบรม ประกอบด้วย 1) รูปประโยค 2) คำศัพท์ทางการศึกษาพิเศษ 3) การสื่อสารเบื้องต้น การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน 4) ไวยากรณ์ 5) วิธีการใช้แอพพลิเคชั่นครูการศึกษาพิเศษ 6) การจดบันทึก 7) การสนทนาโต้ตอบเป็นกลุ่มเล็ก 8) การทดสอบหลังเรียน 9) การแปลคำศัพท์ 10) คู่มือการใช้แอพพลิเคชั่น 2. คะแนนความสามารถทางภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับครูการศึกษาพิเศษ ครั้งที่ 1 พบว่า นักศึกษาครูการศึกษาพิเศษ ชั้นปีที่ 3 มีค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางภาษาอังกฤษสูงสุด ( = 7.44) ครั้งที่ 2 คือ ครูสังกัดศูนย์การศึกษาพิเศษ ( = 10.26) และครั้งที่ 3 คือ นักศึกษาครูการศึกษาพิเศษชั้นปีที่ 4 ( = 15.19) นักศึกษาครูการศึกษาพิเศษชั้นปีที่ 2 มีคะแนนพัฒนาการเฉลี่ยต่อครั้งสูงสุด ( = 8.70) รองลงมาคือ นักศึกษาครูการศึกษาพิเศษชั้นปีที่ 5 และปีที่ 4 ( = 4.32, 3.98) ตามลำดับ 3. ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมการใช้แอพพลิเคชั่นครูการศึกษาพิเศษโดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดตามลำดับ ได้แก่ ความพึงพอใจในด้านที่ 3 คือ ด้านวิทยากร ( = 4.65) ด้านการอำนวยความสะดวก ( = 4.60) ด้านอาหาร ( = 4.52) ด้านเอกสาร ( = 4.50) ด้านสถานที่ ( = 4.49) ความพร้อมของผู้เข้าอบรม ( = 4.34)
Abstract
This research article is a result of research on knowledge management and technology transfer: special education teacher application to improve English ability with participatory training. The objectives of the research are 1) to manage knowledge based on research results in applications that respond to the development of English language ability for communication for special education teachers. 2) to improve the ability of English language through the special education teacher application 3) to study the satisfaction of the trainees towards the use of the special education teacher application. The target group used in the research was a total of 342 teachers, consisting of teachers under the Office of Basic Educational Service Area (Sakon Nakhon, Nakhon Phanom, Mukdahan and Udon Thani), 82 teachers, 50 teachers under special education centers, 10 teachers under the non-formal and educational center and 200 special education teacher students of Sakon Nakhon Rajabhat University level 1–5. Research tools are : application of a special education teacher (SPED Teacher) system are Android and IOS,Training package using the special education teacher application to improve English language ability of special education teachers, test of English language ability for communication of 30 items by switching between items and switching answers, open-ended questionnaire and satisfaction assessment form. The content validity was IOC 0.60-1.00 with difficulty between 0.20–0.80. The power of discrimination was between 0.30-1.00, with the whole confidence equal to 0.53 and the evaluation form for training satisfaction. Data analysis was both qualitative and quantitative. The statistics used are content analysis, basic statistics and relative change score. The results of the study were as follows: 1. Knowledge management in order to create a training package consisting of 1) sentence structure, 2) special educational vocabulary, 3) basic communication, listening, speaking, reading and writing, 4) grammar, 5) how to use the application Special Education Teacher, 6) note taking, 7) small group conversation, 8) posttest, 9) vocabulary translation, 10) application guide book. 2. English language proficiency score for communication for the 1st special education teacher found that the 3rd year special education teacher students had the highest average English proficiency score ( = 7.44), the second was the teachers under the special education center ( = 10.26) and the 3rd was 4th year of special education teacher students ( = 15.19). 2nd year special education teacher students had the highest average development score ( = 8.70), followed by special education teacher students year 5 and year 4 ( = 4.32, 3.98) respectively. And 3. Participants were satisfied with the training using the special education teacher application, in order from highest to least, respectively, Facilitator ( = 4.65) Facilitation ( = 4.60) Food ( = 4.52) Document ( = 4.50) Place ( = 4.49) and Readiness of participants ( = 4.34).
คำสำคัญ
แอพพลิเคชั่น, ครูการศึกษาพิเศษ, ความสามารถทางภาษาอังกฤษKeyword
Application, Special education teacher, Ability to use English languageกำลังออนไลน์: 28
วันนี้: 1,068
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,057
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033