...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2563
หน้า: 123-133
ประเภท: บทความวิจัย
View: 834
Download: 218
Download PDF
การศึกษา และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของรูปแบบการสอนฟิสิกส์โดยอิงแนวคิด สะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์
A Study and Synthesis the Basic Information of STEM Based Physics Instruction to Develop Innovative Creativity and Achievement
ผู้แต่ง
จีรพรรณ ชวาลสันตติ, เรขา อรัญวงศ์, กันต์ฤทัย คลังพหล, อุษา คงทอง
Author
Jerapun Chawalsuntati, Rekha Arunwong, Kanreutai Klangphahol, Usa Kongthong

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของรูปแบบการสอนฟิสิกส์โดยอิงแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ 2) เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานรูปแบบการสอน ได้แก่องค์ประกอบและกระบวนการสอนของรูปแบบการสอนฟิสิกส์โดยอิงแนวคิดสะเต็มเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นครูผู้สอนฟิสิกส์ที่มีประสบการณ์การสอนสะเต็มศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 2 ราย ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนสะเต็มศึกษา จากสถาบันบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 3 ราย อาจารย์ด้านความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม ระดับสถาบันอุดศึกษา จำนวน 2 ราย ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสะเต็มศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมที่มีผลต่อนักเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา และสังเคราะห์องค์ประกอบ กระบวนการสอนของรูปแบบการสอนโดยเชื่อมโยงข้อสรุปจากการวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็น เชื่อมโยงกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอย่างสมเหตุสมผล ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอน ได้แก่ 1) ความสำคัญของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 2) องค์ประกอบสำคัญ และปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 3) ปัญหาการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา 4) เนื้อหาสาระที่เหมาะสม 5) กระบวนการสอนที่เหมาะสม 6) ความพร้อมของครู ในด้านความรู้ การออกแบบกิจกรรม 7) ความพร้อมของนักเรียน 8) จุดเด่น จุดด้อยของหลักสูตร และการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา 9) แหล่งการเรียนรู้ สภาพแวดล้อม และบรรยากาศที่เหมาะสม 10) การวัดประเมินผลด้านความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ 2. การสังเคราะห์ของข้อมูลพื้นฐานขององค์ประกอบของรูปแบบการสอน คือ องค์ประกอบของรูปแบบและกระบวนการสอน โดยองค์ประกอบของรูปแบบ ประกอบด้วย 1) หลักการ แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาวิชาฟิสิกส์ 4) กระบวนการสอน 5) ตอบสนอง 6) ระบบสังคม 7) ระบบสนับสนุน และ 8) ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ซึ่งกระบวนการสอน มี 7 ขั้น ได้แก่ ขั้นระบุปัญหา ขั้นรวบรวมข้อมูล ขั้นออกแบบและวางแผนการทำงาน ขั้นปฏิบัติสร้างชิ้นงาน ขั้นประเมิน ทดสอบ ปรับปรุง ขั้นนำเสนอผลงาน และขั้นสรุป ประยุกต์เชื่อมโยง โดยผลการประเมินความเหมาะสมสอดคล้องขององค์ประกอบ ของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ (IOC) มีค่าระหว่าง 0.71-1.00 และกระบวนการสอน มีค่าระหว่าง 0.80-1.00 ทุกรายการ

Abstract

The purpose were 1) to study basic information of physics instruction model, and 2) to synthesize basic information of physics instruction model, consising the of element and processes of STEM based physics instruction to develop Innovative creativity and achievement. The research sample was 1) two physics teachers with experience in Stem Education, who were under the Ministry of Education 2) three experts in Stem Education from the institute for the promotion of Teaching Science and Technology 3) two teachers of innovative creativity in graduate study. It was selected from purposive sampling.The tools used for this research were interview forms. The Sample consisted of 1) physics teachers 2) STEM Education experts 3) Innovative creativity experts on innovative ideas that affect students and academic achievement. By using data to analyze content and synthesize the elements of the instruction model, teaching processes by linking the sub-conclusions from the content analysis based on the reasonable relates theories. The research findings were as follows: 1. Basic information to develop the STEM based Physics instruction were 1) Important of developing innovative creativity, 2) the element and facter to develop innovative creativity, 3) Problem’s STEM Education activity, 4) Content, 5) teaching process, 6) teach’s konwed and design activity, 7) student’s knowed, 8) curriculum’s highlight and weaked, 9) learning’s environment, 10) innovative creativity’s measure and evaluation and achievement. 2. Synthesis of basic information, consisting the element’s of physics instruction model were 1) Principle of model and basic theoretical concepts 2) The purpose of the model 3) Additional physics content 4) teaching process 5) Effects of students 6) Principles of reaction 7) Social system and 8) Support system. Teaching process comprise 7 steps: problem identification, data and concept collection, designing and planning, creating work, test assessment development, presentation process, and summary as well as application. Based on the expor’ts assessment, the result of suitability analysis of element physics instruction model showed that the Indexs of Item-Objective Congruency : (IOC) values were between 0.71 and 1.00, and teaching process had IOC values of between 0.80 and 1.00.

คำสำคัญ

ความคิดสร้างสรรค์, นวัตกรรม, สะเต็มศึกษา

Keyword

Creative thinking, Innovation, STEM Education
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 21

วันนี้: 1,100

เมื่อวานนี้: 873

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,089

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033