บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านก่อนและหลังเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ในรายวิชาคณิตวิเคราะห์ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ในรายวิชาคณิตวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษา ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2/2562 จำนวน 36 คน ภาคเรียนที่ 2 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้วิจัยเลือกกลุ่มเป้าหมายจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชาคณิตวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการเรียนรู้ 5 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบ t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.18, S.D. = 0.77)
Abstract
This research aimed to 1) compare the mathematics students’ learning achievement in mathematical analysis courses before and after the intervention; and 2) examine the mathematics students’ satisfaction in mathematical analysis courses toward the developed instructional management. The samples of the study were thirty six students who enrolled in mathematical analysis courses in the second semester of academic year 2019. The samples were selected by purposive sampling. They were instructed using 5 plans of flipped classroom. The research instruments consisted of a lesson plan for the flipped classroom, achievement test, and a satisfaction assessment. The collected data were analyzed through percentage, mean, standard deviation and t-test (Dependent Sample). The research findings of The findings were as follows: 1. The students’ learning achievement after the intervention was higher than that of before the intervention at the. 05 statistical significance level. 2. The students’ satisfaction toward the instructional management based on flipped classroom was at the high level.
คำสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจKeyword
Learning Achievement, Flipped Classroom, Instuctional Satisfactionกำลังออนไลน์: 27
วันนี้: 1,126
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,115
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033