...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2563
หน้า: 101-114
ประเภท: บทความวิจัย
View: 590
Download: 216
Download PDF
การศึกษาโครงสร้าง หน้าที่ และช่องว่างของการดำเนินงานการจัดการศึกษา สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
The Study of Structure, Functions and Gaps in Educational Provision for Students with Special Needs
ผู้แต่ง
พลรพี ทุมมาพันธ์, พรทิพภา สุริยะ, ปิยวรรณ ทัศนาญชลี, อรันดา เส้นเกษ
Author
Phonraphee Thummaphan, Porntippa Suriya, Piyawan Thatsananchalee, Aranda Senkes

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของการดำเนินงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และ 2) วิเคราะห์ช่องว่างและประเด็นที่ควรพัฒนาในการดำเนินงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative approach) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary study) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus group) 29 หน่วยงาน ร่วมกับการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงลึก 7 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 36 หน่วยงาน ครอบคลุมการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ตั้งแต่ระดับก่อนปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสรุปประเด็น (Thematic Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) โครงสร้างและหน้าที่ของการดำเนินงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษประกอบด้วย หน่วยงาน/กลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง 4 ส่วนใหญ่ ๆ ที่มีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันและดำเนินงานร่วมกันในการจัดการศึกษาให้กับเด็กเพื่อให้มีงานทำและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้แก่ หน่วยงานเชิงนโยบายมีหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบายและกำกับติดตามการจัดการศึกษา หน่วยงานจัดการศึกษามีหน้าที่จัดการศึกษาระดับต่าง ๆ หน่วยงานสนับสนุน เช่น สมาคม มีหน้าที่ให้การสนับสนุนครอบครัวและการดำเนินงานของหน่วยงานที่จัดการศึกษา และครอบครัว/ชุมชนมีหน้าที่ดูแลเด็ก ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งร่วมมือกับหน่วยงานที่จัดการศึกษาและหน่วยงานอื่น ๆ 2) ช่องว่างและประเด็นที่ควรพัฒนาในการดำเนินงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ประกอบด้วย ช่องว่าง 3 ด้านหลัก ได้แก่ เด็กไม่สามารถเข้าศึกษาในสถานศึกษาได้ตามที่ต้องการ เด็กไม่ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพตามที่หลักสูตรกำหนด และเด็กไม่สามารถเข้าถึงสิทธิได้เท่าที่ควร ส่วนประเด็นที่ควรพัฒนาสำคัญ เช่น การสร้างการยอมรับให้แก่ผู้ปกครองและสังคม การผลิตและพัฒนาครูการศึกษาพิเศษ และการจัดการระบบการให้บริการเด็ก

Abstract

This research purposes were to 1) study the structure and fucntions in educational provision for students with special needs and 2) analyze gaps and improvement issues in educational provision for students with special needs. The research employed qualitative approach. Data collected through documentary study, in-depth interview, and focus group of 29 organizations and field study of 7 selected organizations/schools, totally 36 organizations. These organistions represent formal, non-formal, and informal educationa from pre-early childhood to higher education. Data were analyzed by content and thematic analyses. The results found that 1) structure and functions of the educational provision for students with special needs includes four types of organizations with different and cohesive functions to provide educations for students with special needs aiming to support them for employment and well-being consisting of policy-making organizations function for policy setting and implementation monitoring, schools provide different kinds educational programmes or activities for stduents from various educational levels, supporting organizations (e,g, foundations) provide supports for famoliies and schools, and familes/communities provide cares and informal educations for students as well as collaborate with schools and other organizations; 2) gaps and improvement issues in educational provision for students with special needs include three major gaps comprising of students cannot attend schools, students’ qualities are poor, and students cannot accesss required services, and critical improvement issues such as acceptance among parents and society, teacher preparation and development, and service system management, are addressed.

คำสำคัญ

การจัดการศึกษา, เด็กที่มีความต้องการพิเศษ, โครงสร้าง, หน้าที่, ช่องว่าง

Keyword

Educational provision, Students with special needs, Structure, Function, Gap
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 20

วันนี้: 1,099

เมื่อวานนี้: 873

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,088

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033