...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2563
หน้า: 59-72
ประเภท: บทความวิจัย
View: 609
Download: 221
Download PDF
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบสืบเสาะ สาระเศรษฐศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร สื่อ และเทคโนโลยี และการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Development of the Instructional Model by Using Blended Learning and Inquiry Cycle Learning In Economics Strand to Enhance Information Media and Technology Skills and ICT Literacy of Upper Secondary Students
ผู้แต่ง
เกียรติศักดิ์ ชัยยาณะ
Author
Kiadtisak Chaiyana

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบสืบเสาะ สาระเศรษฐศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร สื่อ และเทคโนโลยี และการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทาง การจัดการเรียนการสอนสาระเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการตอบแบบสอบถามของครูผู้สอนรายวิชาสังคมศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 จำนวน 105 คน 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน จากนั้นตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 45 คน โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร สื่อ และเทคโนโลยี แบบประเมินการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ และแบบสอบถามความพึงพอใจ และ 4) ประเมินรับรองรูปแบบการเรียนการสอนด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้และความเหมาะสม โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนการสอนภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. รูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนการสอน และ 5) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการใช้รูปแบบการสอน พบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนมีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ .50 2) นักเรียนมีทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร สื่อ และเทคโนโลยีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนมีการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับดี และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้ด้วยรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4. ผลการประเมินรับรองรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก

Abstract

The purpose of this study was to develop the instructional model by using blended learning and inquiry cycle learning in economics strand to enhance information media and technology skills and ICT literacy of upper secondary students. The research procedure followed 4 steps: 1) study problems and guidelines of instructional in economics strand for upper secondary students by questionnaires of 105 upper secondary social studies teachers in Chiang Mai, under the secondary educational service Area office 34, 2) create and develop the instructional model, examine this model by 5 experts using model evaluation form, 3) study results of implement the instructional model for sampling group was the 45 students in Wattanothaipayap school at the second semester of academic year 2019 using achievement test, evaluation form of information media and technology skills, ICT literacy scale, and satisfication questionnaire, and 4) assess the instructional model by 5 experts. The statistics used for quantitative data analysis were mean, percentage, standard deviation, effective index, dependent sample t-test and content analysis for qualitative data. The results were as follows: 1. The state of instruction was moderate level, the problem of instruction was highest level, and the guidelines of instruction was highest level, as a whole. 2. The developed of instructional model was 5 components : 1) principles, 2) objectives, 3) contents, 4) instructional process and 5) measurement and evaluation. The appropriate of the Instructional model was high level. 3. The results of using the developed of instructional model were: 1) Effectiveness index of the model was .50. 2) After the experimented students had been learned through the model, information media and technology skills was statistically higher than before at .01 level of significance. 3) The students’ ICT literacy was good level, as a whole. 4) The students’ satisfaction toward the instructional model was at the high level. 4. The assessment of the instructional model revealed that this model was actually utility, feasibility and propriety at high level.

คำสำคัญ

รูปแบบการเรียนการสอน, ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร สื่อ และเทคโนโลยี, การรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ

Keyword

Instructional model, Information media and technology skills, ICT literacy
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 29

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,136

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,125

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033