บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้จากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของวิลเลียมส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3/4 โรงเรียนสนามบิน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คนได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้นดำเนินการตามแบบแผนการวิจัย One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของวิลเลียมส์ จำนวน 4 แผน 12 กิจกรรม (2) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของทอแรนช์ 4 ด้าน คือ 1) ความคิดคล่องแคล่ว 2) ความคิดยืดหยุ่น 3) ความคิดริเริ่ม และ 4) ความคิดละเอียดลออสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบความแตกต่างของความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยค่าที t-test แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้จากการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิดของวิลเลียมส์ โดยมีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 35 คน เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความคิดริเริ่มมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.04 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 70.40 ของคะแนนทั้งหมด และด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความคิดคล่องแคล่วมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.97 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 69.70 จากองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย 4 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยรวมทั้งหมด 28.00 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 70.00 พบว่า นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The objective of this research study was to develop childhood children’s innovative thinking through lesson plans basing on Williams’ idea. The sample group consisted of 35 kindergarten children in room No. 3/4 in Sanambin School, Ampur Muang, KhonKaen Province, under the Office of KhonKaen Primary Educational Service Area I. The sample group was randomly selected from among the total 4 classrooms during the first semester of academic year 2019. experimented within the basic The research methodogy was One Group Pretest-Posttest Design framework, The research tools included 1) 4 lesson plans based on Williams’ ideas and 2) a Torrance’s innovative thinking test on the four aspects of (1) deft thinking, (2) flexible thinking, (3) initiative thinking and (4) meticulous thinking. Basic statistics were used to analyze the data collected for percentage, arithmetic mean, and standard deviation, and a t-test for dependent was administered to find the differences between the pretest and posttest scores. The findings showed that: On the aspect of childhood children’s innovative thinking deriving from constructive activities, it was found that the aspect of initiative thinking showed a highest mean score of 7.04 or 70.40%, and the aspect of deft thinking showed the least mean score of 6.97 or 69.70%. From the components of creativity of preschool children in 4 aspects, with a total average score of 28.00 or 70.00 %. It was also found that the children’s posttest score on innovative thinking was significantly higher than their pretest one at the .05 level of significance.
คำสำคัญ
ความคิดสร้างสรรค์, การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดของวิลเลียมส์Keyword
Innovative thinking, Creative activities management basing on Williams’ ideasกำลังออนไลน์: 20
วันนี้: 1,099
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,088
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033