...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2563
หน้า: 19-26
ประเภท: บทความวิจัย
View: 575
Download: 232
Download PDF
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนบ้านดงน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
The Development of Learning Skill in Science Using Problem-Based Learning (PBL) for Prathom Suksa 2 in Ban Dong Noi School Under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2
ผู้แต่ง
กนกวรรณ เขียวน้ำชุม, อภิสิทธิ์ สมศรีสุข, วาโร เพ็งสวัสดิ์
Author
Kanokwan Kheawnamchoom, Apisit Somsrisuk, Waro Phengsawat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหา 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดงน้อย อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ปีการศึกษา 2560 จำนวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แผนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.25-078 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21-0.50 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.66 แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่านักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ 3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

Abstract

The purposes of this research were 1) To compare the learning outcomes of science courses before and after learning management by using problems as a base 2) to study problem-solving skills 3) to study the opinions of Prathom Suksa 2 towards learning management by using problems as a base. The research study was Prathom Suksa 2 at Ban Dong Noi School, Si Songkhram District, Nakhon Phanom Province. The target group used in the research was 20 Prathom Suksa 2 in Ban Dong Noi School. Si Songkhram District Nakhon Phanom Province, in 2017. By selection. The research instruments used for gathering data were : 1) Science course lesson plan and Index of item Objective Congruence (IOC) is valued over 0.08-1.00. 2) The learning outcomes test is between 0.80-1.00, the difficulty is between 0.25-0.78, the power is between 0.21-0.50 and the reliability is 0.66. 3) Problem Solving Skill and questionnaires and Index of item Objective Congruence (IOC) is valued over 0.08-1.00. 4) Questionnaire for students' opinions on learning management by using problem based. The consistency index is between 0.80-1.00. The statistical analysis employed were mean, standard deviation, t-test dependent. The findings were as follows: 1. Science learning course results of Prathom Suksa 2 before and after learning-based management found that the mean score after studying is higher than before studying Statistical significance at the level of .01. 2. Problem solving skills of Prathom Suksa 2 who had problem-based learning management found that students had problem solving skills at a fair level and when considered in detail found that it was at a sufficient level. All sides. 3. The opinions of Prathom Suksa 2 Toward Learning Management Based on Problems. There is a moderate level of overall opinion.

คำสำคัญ

ทักษะการเรียนรู้, การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ผลการเรียนรู้, ทักษะการแก้ปัญหา, ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้

Keyword

Learning skills, Problem based learning, Learning Outcomes, Problem-solving-skill, Opinions of Learning Management
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 81

เมื่อวานนี้: 652

จำนวนครั้งการเข้าชม: 771,686

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033