...
...
เผยแพร่: 10 ม.ค. 2562
หน้า: 35-43
ประเภท: บทความวิจัย
View: 463
Download: 216
Download PDF
ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
The Effects of Blended Learning on Information and Communication Technology Subject for Mathayom Suksa 5
ผู้แต่ง
ศักดิ์ชัย นันทราช, สำราญ กำจัดภัย, อุษา ปราบหงษ์
Author
Sakchai Nuntharach, Sumran Gumjudpai, Usa Prabhong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 1) สร้างและพัฒนาเครื่องมือในงานวิจัย และ 2) ทดลองใช้กิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนครพนมวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการรู้สารสนเทศ 3) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (Dependent samples t-test และ Independent samples t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว (One-way ANCOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน

3. การรู้สารสนเทศของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. การรู้สารสนเทศหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. ทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

6. นักเรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.51, S.D. = 0.48)

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop the learning activities of the Information and communication technology based on Blended Learning for Mathayom Suksa 5 and 2) to study the effects of the learning-teaching on Blended Learning. The research study was composed 2 stages as flow were: 1) Creating and developing tools research and 2) tryout of the created learning on Blended Learning. The Experimental group and the control group were divided into 40 Mathayom Suksa 5 students who were studying in the second semester of 2017 academic year at Nakhon Phanom Witthayakhom School. These subjects were obtained through cluster random sampling. The instruments employed for the study consisted were: 1) an achievement test, 2) a form to measure the students’ information literacy, 3) a form to evaluate practical skills, and 4) a satisfaction questionnaire. The statistics adopted included average, percentage, standard deviation, t-tests (Dependent samples t-test and Independent samples t-test) and analysis of sum squares total (One-way ANCOVA).

The findings of the study were as follows:

1. The experimented students their achievement was statistically higher than that of before at .05 level of significance.

2. An achievement of the experimented students and control group their was not different.

3. The experimented students their information literacy was statistically higher than that of before at .05 level of significance.

4. An information literacy of the experimented students was statistically higher than that of the control group at .05 level of significance.

5. The practical skills of the experimented students was statistically higher than that of the control group at .05 level of significance.

6. The satisfaction the experimented students was at the highest level (\bar{x} = 4.51, S.D. = 0.48).

คำสำคัญ

การเรียนรู้แบบผสมผสาน, การรู้สารสนเทศ, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

Keyword

Blended Learning, Information literacy, Information and communication technology
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 13

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,450

จำนวนครั้งการเข้าชม: 973,687

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033