บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบเปิดกับวิธีการสอนแบบปกติ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบเปิดกับวิธีการสอนแบบปกติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโนนงามอุดมวิทย์ กลุ่มเครือข่ายดุง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 50 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด และแผนการจัดการเรียนรู้ที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบปกติ จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างทั้งสองไม่เป็นอิสระกัน (Dependent Samples t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One–Way ANCOVA)
ผลการวิจัย สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบปกติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบเปิดกับที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบปกติไม่แตกต่างกัน แต่มีแนวโน้มว่าวิธีการสอนแบบเปิดสูงกว่าวิธีการสอนแบบปกติ
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = 0.48)
Abstract
The purposes of this research were to: 1) compare the students’ mathematics learning achievement before and after the instructions based on the open approach and the conventional approach, 2) compare the students’ mathematics learning achievement after the instructions based on the open approach and the conventional approach, and 3) examine the student satisfaction toward the teaching and learning activities based on the open approach. The samples of 50 Prathomsuksa 1 students were selected from two classes from Ban Non Ngam Udomwit School in the group of Dung School Network 2 under the Udon Thani Primary Educational Service Area Office 3 in the second semester of the academic year 2017. The samples were obtained through cluster sampling using a school as a unit selection. The research instrument included: 1) Six mathematics lesson plans based on the open approach and the conventional approach, 2) a mathematics learning achievement test, and 3) an assessment form of student satisfaction with regard to the teaching and learning activities based on the open approach. The statistics for data analysis were mean, percentage, standard deviation, and t-test for Dependent Samples and One-Way ANCOVA.
The findings were as follows:
1. The scores of the mathematics learning achievement of the students who were taught using the open approach teaching were higher than those of before the intervention at a statistical significance of .01 level. Likewise, the scores of the mathematics learning achievement for the students who were taught through the conventional approach were higher than those of before the intervention at a statistical significance of .01 level.
2. After the intervention, the mathematics learning achievement scores of the students who were learning through the open approach teaching and the convention approach showed no difference. However, the students learning through the open approach teaching performed higher scores than their peers in a conventional class.
3. The student satisfaction toward the teaching and learning activities based on the open approach as a whole at the highest level ( = 4.63, S.D. = 0.48).
คำสำคัญ
วิธีการสอนแบบเปิด, วิธีการสอนแบบปกติKeyword
Open Approach, Conventional Approachกำลังออนไลน์: 22
วันนี้: 1,049
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,038
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033