...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2562
หน้า: 39-47
ประเภท: บทความวิจัย
View: 470
Download: 129
Download PDF
วิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านซำม่วง
The Action Research for Development of Mathematical Skill and Process of Pathomsuksa 6 Students at Ban Sommuang School
ผู้แต่ง
ภคมน แสงไสย์, ภัทราพร เกษสังข์, นฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์
Author
Phakhamon Saengsai, Pattharaporn Kessung, Narumon Sakpakornkan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านซำม่วง 2) ศึกษาความคาดหวังและแนวทางการพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาทักษะและเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านซำม่วง จำนวน 8 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิลคอกซัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ นักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับการตีความโจทย์ การวิเคราะห์โจทย์ การแปลงโจทย์เป็นสัญลักษณ์ การให้เหตุผล การเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์กับคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวันและการคิดสร้างสรรค์ และผลการทดสอบก่อนการพัฒนาไม่มีนักเรียนผ่านเกณฑ์

2. ความคาดหวังให้นักเรียนมีความรู้ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ครบทั้ง 5 ด้าน โดยผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม และนักเรียนต้องผ่านเกณฑ์จำนวนร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด และสามารถนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวันได้

แนวทางการพัฒนาโดยจัดสถานการณ์หรือปัญหา เกม แบบฝึก สื่อที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สื่อมัลติมีเดียที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต

3. ผลการพัฒนาผู้วิจัยดำเนินการพัฒนา 2 วงจร พบว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 ของนักเรียนทั้งหมด และผลการเปรียบเทียบ พบว่า นักเรียนมีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์หลังการพัฒนาสูงกว่าคะแนนก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this research were : 1) to study Mathematical skill and process problem of Pathomsuksa 6 students at Ban Sommuang school, 2) to study expectation and development approaches mathematical skill and process, and 3) to study the results of development and to compare mathematical skill andprocess of Pathomsuksa 6 students before and after development. The target group of this research was 8 Pathomsuksa 6 students at Ban Sommuang school using purposive sampling. Qualitative data was analyzed by content analysis, while quantitative data was analyzed to obtain percentage, mean, standard deviation and Wilcoxon match pairs sign rank test.

The research findings were as follows:

1. The problem of Pathomsuksa 6 students from the results of Ordinary National Educational Test was lower than minimum standard criteria mean. Problems of students were problem interpret, problem analyze, problem conversion into symbols, reasoning, knowledge linking about mathematics with mathematics and mathematics with everyday life,  creative thinking and the result before development was no students passed the criterion.  

2. Expect students to have knowledge about 5 mathematical skill and process to pass minimum standard criteria of 50 persent of full marks and 80 percent of students must pass and apply knowledge in everyday life.

Development approaches using situation or problem, games, exercises, materials used in everyday life, and multimedia teaching materials in the internet.

3. The results of development that the researcher conducted in 2 cycles found that 7 students were passed criteria, accounting for 87.50 percent of all students. The students had post-develoment mathematical skill and process higher than before development with statistical significance at the .05 level.

คำสำคัญ

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์, การวิจัยปฏิบัติการ

Keyword

Mathematical skill and process, Action research
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 9

วันนี้: 544

เมื่อวานนี้: 550

จำนวนครั้งการเข้าชม: 788,877

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033