...
...
เผยแพร่: 5 ก.ย. 2561
หน้า: 243-255
ประเภท: บทความวิจัย
View: 393
Download: 122
Download PDF
การประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2559) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
The Evaluation of Master of Education Program in Educational Administration Faculty of Education, Rajabhat Rajanagarindra University (Revised Curriculum 2016)
ผู้แต่ง
พจนีย์ มั่งคั่ง, กัญภร เอี่ยมพญา, ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ, พรทิพย์ คำชาย, สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี, ลินดา นาคโปย, อำนาจ บุญประเสริฐ
Author
Pojanee Mangkang, Kanporn Aiemphaya1, Siriwat Jiradetprapai, Porntipn Khamchai, Somsak Aeamkongsee, Linda Narkpoy, Amnat Boonprasert

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2559) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 3 ด้าน คือ 1) ด้านบริบทของหลักสูตร 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น และ 3) ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน และนักศึกษา และเพื่อประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 5 คน อาจารย์ผู้สอน จำนวน 8 คน นักศึกษา จำนวน 28 คน ผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 28 คน รวมทั้งหมด 69 คน การประเมินหลักสูตรตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม (Danial L.Stufflebeam) โดยใช้รูปแบบซิป (CIPP Model) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ผลการประเมินหลักสูตร ตามความคิดเห็นของอาจารย์ประจำหลักสูตร พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด คือ ด้านบริบทของหลักสูตร : แผนการศึกษา และด้านบริบทของหลักสูตร : วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และด้านที่มีความเหมาะสมลำดับสุดท้าย คือ ด้านกระบวนการ : การบริหารและพัฒนาอาจารย์

2. ผลการประเมินหลักสูตร ตามความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอน พบว่า มีความเหมาะสม โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด คือ ด้านบริบทของหลักสูตร : โครงสร้างของหลักสูตร รองลงมาคือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น : แผนการศึกษา และด้านที่มีความเหมาะสมลำดับลำดับสุดท้าย คือ ด้านบริบทของหลักสูตร : วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

3. ผลการประเมินหลักสูตร ตามความคิดเห็นของนักศึกษา พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีความเหมาะสม ระดับมากที่สุด คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น : คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร รองลงมา คือ ด้านบริบทของหลักสูตร : วัตถุประสงค์ชองหลักสูตร และด้านที่มีความเหมาะสมลำดับสุดท้าย คือ ด้านกระบวนการ : ความพึงพอใจของนักศึกษาและการจัดการข้อร้องเรียน 

4. ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต พบว่า นักศึกษามีคุณภาพ โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีคุณภาพมากที่สุด คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม รองลงมา คือ ด้านปัญญา ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านที่มีคุณภาพลำดับสุดท้าย คือ ด้านความรู้

Abstract

The purposes of this study were to 1) evaluate the Master of Education Program in Educational Administration, revised curriculum 2016 in three aspects: curriculum context, input, and process according to the opinions of curriculum lecturers, lecturers, and students; and 2) evaluate desirable characteristics of students according to the opinions of employers of graduated students. The samples were comprised of 5 curriculum lecturers, 8 lecturers, 28 students, and 28 employers, total at 69. The research was conducted using the Danial L.Stufflebeam evauatiion method and CIPP model. The research instrument was questionnaires. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis.

The research results were as follows:

1. The result of curriculum evaluation according to curriculum lecturers’ opinions as a whole and each aspect was appropriate at the highest level, ranking by mean scores from high to low: in aspect of curriculum context: lesson plan and curriculum purposes; and in aspect of process: administration and development of lecturers respectively.

2. The result of curriculum evaluation according to lecturers’ opinions as a whole and each aspect was appropriate at the highest level, ranking by mean scores from high to low: in aspect of curriculum context: curriculum structure; in aspect of input: lesson plan; and in aspect of curriculum context: curriculum purposes respectively.

3. The result of curriculum evaluation according to students’ opinions as a whole and each aspect was appropriate at a high level, ranking by mean scores from high to low: in aspect of input: curriculum lecturers’ qualifications; in aspect of curriculum context: curriculum purposes; and in aspect of process: students’ satisfaction and handling complaints respectively.

4. The result of evaluation of students’ desirable characteristics according to the opinions of employers of graduated students regarding the students’ quality as a whole and each aspect was at the highest level, ranking by mean scores from high to low: in aspect of quality: ethics; in aspect of intelligence: numerical analysis; communication and use of information technology; and in aspect of quality: knowledge

คำสำคัญ

การประเมินหลักสูตร, บริหารการศึกษา, หลักสูตร

Keyword

curriculum evaluation, Educational Administration, Curriculum
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 435

เมื่อวานนี้: 600

จำนวนครั้งการเข้าชม: 789,368

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033