...
...
เผยแพร่: 5 ก.ย. 2561
หน้า: 199-210
ประเภท: บทความวิจัย
View: 532
Download: 187
Download PDF
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะวิชาชีพ ของนักศึกษาครูสังคมศึกษา
The Development of an Instructional Management Model to Enhance Professional Skills of Social Studies Student Teachers
ผู้แต่ง
ญดาภัค กิจทวี, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง, สิริวรรณ ศรีพหล, อรพิณ ศิริสัมพันธ์
Author
Yadaphak Kittawee, Poranat Kitroongrueng, Siriwan Sripahol, Orapin Sirisamphan

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะวิชาชีพของนักศึกษาครูสังคมศึกษา 2) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะวิชาชีพของนักศึกษาครูสังคมศึกษา ในประเด็นต่อไปนี้ 2.1) เพื่อประเมินทักษะวิชาชีพของนักศึกษาครูสังคมศึกษา หลังการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะวิชาชีพของนักศึกษาครูสังคมศึกษา 2.2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ของนักศึกษาครูสังคมศึกษา ก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะวิชาชีพของนักศึกษาครูสังคมศึกษา และ 2.3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาครูสังคมศึกษาที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะวิชาชีพของนักศึกษาครูสังคมศึกษาที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ทดลองในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (\bar{X}) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t (t-test for dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะวิชาชีพของนักศึกษาครูสังคมศึกษา (ELCPP Model) มีองค์ประกอบของ คือ 1) หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน 3) กระบวนการจัดการเรียนการสอน 4) เงื่อนไขของการนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนไปใช้ ซึ่งมีกระบวนการจัดการเรียนการสอนของรูปแบบมี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์ (Experience analysis : E) ขั้นที่ 2 ขั้นเชื่อมโยงความรู้ (Linking Knowledge : L) ขั้นที่ 3 ขั้นประยุกต์ตามบริบท (Contextual Generation : C) ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกปฏิบัติ (Practice : P) ขั้นที่ 5 ขั้นสะท้อนการปฏิบัติ (Practice Reflects : P)

2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะวิชาชีพของนักศึกษาครูสังคมศึกษา 2.1) ผลการประเมินทักษะวิชาชีพของนักศึกษาครูสังคมศึกษา หลังการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะวิชาชีพของนักศึกษาครูสังคมศึกษา มีทักษะวิชาชีพของนักศึกษาครูสังคมศึกษา อยู่ในระดับดี (\bar{X} = 2.43, S.D. = 0.20) 2.2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาของนักศึกษาครู หลังการทดลองใช้ (\bar{X} = 17.77, S.D. = 2.51) สูงกว่าก่อนการทดลองใช้ (\bar{X} = 11.10, S.D. = 3.05) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) ความพึงพอใจของนักศึกษาครูที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะวิชาชีพของนักศึกษาครูสังคมศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{X} = 4.57, S.D. = 0.42)

Abstract

This research aims to 1) develop the instructional management model to enhance professional skills of social studies student teachers 2) to investigate the result in experiment of the instructional management model to enhance professional skills of social studies student teachers 2.1) to evaluate the professional skills of social studies student teachers after the experiment of the instructional management model to enhance professional skills of social studies student teachers, 2.2) to compare the learning achievements in social studies subject area of social studies student teachers using pre-experiment and post-experiment of the instructional management model to enhance professional skills of social studies student teachers and 2.3) to evaluate the social studies student teachers’ satisfaction of the instructional management model to enhance professional skills of social studies student teachers. A target group sample of the research is of the fourth-year social studies student teachers who study in the faculty of education of Kanchanaburi Rajabhat University at the first semester of the academic year of 2560. The research is a research and development. The data is analyzed by the average (\bar{X}), the standard deviation (S.D.), t-test for dependent and content analysis.

The research findings revealed that 1) the instructional management model to enhance professional skills of social studies student teachers (ELCPP Model) consisted of the following key elements which were 1) the principles of the instructional management model 2) the objectives of the instructional management model 3) the process of instruction of the instructional management model in relation with the five stages of the instructional management model, which were Stage 1: Experience Analysis (E), Stage 2: Linking Knowledge (L) Stage 3: Contextual Generation (C) Stage 4: Practice (P) and Stage 5: Practice Reflects (P), and 4) the conditions of the application 2) the results of the experiment of the instructional management model to enhance professional skills of social studies student teachers 2.1) the result of the post-experiment of the instructional management model to enhance professional skills of social studies student teachers had the professional skills of social studies student teachers at high level (\bar{X} = 2.43, S.D. = 0.20), 2.2) the result of the comparie the learning achievements of social studies subject area of the social studies student teachers of the post-experiement (\bar{X} = 17.77, S.D. = 2.51) was higher than the pre-experiment result (\bar{X} = 11.10, S.D. = 3.05) with significant different at .05, 2.3) the result of the evaluation of social studies student teachers’ satisfaction of the instructional management model to enhance professional skills of social studies student teachers was in the highest level (\bar{X} = 4.57, S.D. = 0.42).

คำสำคัญ

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน, ทักษะวิชาชีพของนักศึกษาครูสังคมศึกษา

Keyword

Instructional management model, Professional skills of social studies student teachers
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 5

วันนี้: 559

เมื่อวานนี้: 600

จำนวนครั้งการเข้าชม: 789,492

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033