บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และข้อเสนอแนะแนวทางการใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จำนวน 345 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า
1. การใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยภาพรวม มีระดับการปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านการวิพากษ์วิจารณ์ ด้านการคิดรวบรวมข้อมูล ด้านการคิดหาคำตอบได้ ด้านการทำใจให้ว่าง และด้านกระบวนการใช้วัตถุดิบ
2. ปัจจัยเกี่ยวกับ อายุ ชั้นปี และคณะวิชา มีความสัมพันธ์กับการใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ข้อเสนอแนะแนวทางการใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี สรุปได้ดังนี้ มีแหล่งค้นคว้าข้อมูลให้มากขึ้น มีการใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่าก่อนการตัดสินใจทุกครั้ง มีการกำหนดจิตให้เป็นกลางก่อนทุกครั้ง มีการนำความรู้มาช่วยในการหาคำตอบ และมีความสามารถในการเสนอการคิดเห็นให้เพื่อน ๆ วิพากษ์ วิจารณ์ได้
Abstract
This research aimed to study the level of utilizing the creative thinking process of Kanchanaburi Rajabhat University (KRU) students, factors associating with the creative thinking process of students, and to come up with a guideline for utilizing the creative thinking process of students. The sample groups consisted of 345 KRU students, selected by proportional stratified random sampling. A constructed 5–level rating scale questionnaire with the reliability of 0.94 was used as a tool to collect data. The statistics employed for data analysis were percentage, mean, standard deviation and chi-square test.
The research results were as follows:
1. The utilization of creative thinking process of students were overall and in each individual aspect at a high level, ranking in the order of mean from high to low as giving criticism, collecting information, finding answers, having a carefree mind, and using raw materials.
2. Factors concerning age, year, and faculty were overall correlated with the creative thinking process of students, statistical significance at the level of .01.
3. Suggestions for utilizing the creative thinking process of the students were presented. First, there should be more information retrieval sources. Second, the raw materials should be used to the optimal benefits. Third, before making any decision, the mind should be impartial. Fourth, the tacit knowledge should be used to find the answers. Finally, their opinions should be open to comments and suggestions.
คำสำคัญ
กระบวนการคิดสร้างสรรค์, การใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์Keyword
The creative thinking, The utilization of creative thinking, Factors associating with the creative thinking processกำลังออนไลน์: 18
วันนี้: 948
เมื่อวานนี้: 1,300
จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,983
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033