...
...
เผยแพร่: 5 ก.ย. 2561
หน้า: 187-197
ประเภท: บทความวิจัย
View: 340
Download: 116
Download PDF
การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการรู้เรื่องการอ่าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านท่าสะอาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
Action Research for the development of Reading Literacy Competency of Mathayomsuksa 3 students at Chumchonbanthasaad School Under Loei Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
ปลายมาส ก้อนคำ, ภัทราพร เกษสังข์, นฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์
Author
Plaimas Koncom, Pattharporn Kessung, Narumon Sakpakornkan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับสมรรถนะการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียน 2) ศึกษาความคาดหวังและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียน โดยการวิจัยปฏิบัติการ 3) ศึกษาและเปรียบเทียบผลการพัฒนาสมรรถนะการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียน ระหว่างก่อนการพัฒนากับหลังการพัฒนา และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะการรู้เรื่องการอ่าน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านท่าสะอาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยเป็นนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์คะแนน ร้อยละ 60 ของแบบทดสอบการรู้เรื่องการอ่าน สมรรถนะที่ 2 บูรณาการและตีความ จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความบกพร่องสมรรถนะการรู้เรื่องการอ่าน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบการรู้เรื่องการอ่านสมรรถนะที่ 2 บูรณาการและตีความ (ก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนา) แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียน แบบประเด็นในการสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียน และแบบบันทึกหลังการสอนของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิตินอนพาราเมตริกซ์ โดยใช้แบบจับคู่ของวิลคอกซัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพปัญหา พบว่า นักเรียนไม่ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการจัดกิจกรรมการสอนของครูไม่หลายหลาย ไม่มีสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย และจากการสำรวจความบกพร่องโดยการทำแบบทดสอบความบกพร่องสมรรถนะการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความบกพร่องสมรรถนะที่ 2 สมรรถนะการบูรณาการและตีความมากที่สุด

2. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคาดหวังให้นักเรียนมีสมรรถนะการรู้เรื่องการอ่าน ในสมรรถนะที่ 2 การบูรณาการและตีความที่สูงขึ้น ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 และจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ควรไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 แนวทางการพัฒนาควรพัฒนาตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PANORAMA การสอนอ่านเทคนิค SQ3R และรูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม

3. ผู้วิจัยดำเนินการพัฒนา 3 วงจร พบว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 60 ทั้งหมด 28 คน คิดเป็นร้อยละ 82.14 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย และผลการเปรียบเทียบ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีสมรรถนะการรู้เรื่องการอ่าน ด้านสมรรถนะที่ 2 การบูรณาการและตีความของนักเรียนหลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อกระบวนการพัฒนาสมรรถนะการรู้เรื่องการอ่าน สมรรถนะที่ 2 การบูรณาการและตีความอยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this research were 1) to explore the problem state of students in the reading literacy competency, 2) to obtain the expectation and development of guidelines, 3) to determine and compare the result of students’ reading literacy development between before and after the development, and 4) to study the students’ satisfaction towards the learning activities of students’ reading literacy development. The target group used in research was 28 Mathayomsuksa 3 students at Chumchonbantasaad school under Loei Primary Educational Service Area office 1 by purposive random sampling, who did not pass the criteria score 60 percent of integrated and interpretative reading literacy competency aspect 2. The research instruments consisted of a survey testing of defects, learning plans, the tests of reading literacy competency, ended-loop test, a questionnaire for satisfaction, focus group discussion form, in-depth interview form, a form of observed behavior, and the record after teaching. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and Wilcoxon matched pairs signed rank test.

The findings were showed as follows:

1. Results of the problem state were students did not have continuous development, teaching methods without modern teaching media. A survey of defects found that students were poor in integrated and interpretative competency aspect 2 at the highest level.

2. The Expectation of stakeholders required students to increase in reading literacy and passed the criteria 60 percent. Students must pass 70 percent of all students. The development of integrated and interpretative reading literacy competency aspect 2 was instantly required. The development guidelines such as various activities, learning management in 21st century: PANORAMA, SQ3R, inquiry teaching method, and cooperative learning method.

3. Results of the 3 development cycles found that 23 students passed the criteria score 60 percent at 82.14 percent of all target students. The comparison between before and after the  development of students’ reading literacy was obviously revealed that after the development the students gained more reading literacy competency aspect 2 than those of before at .01 level significance.

4. The students were satisfied with the reading literacy competency development at a high level.

คำสำคัญ

การรู้เรื่องการอ่าน, สมรรถนะการรู้เรื่องการอ่าน, บูรณาการและตีความ

Keyword

Reading literacy, Reading literacy competency, Integrated and interpretative competency aspect
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 523

เมื่อวานนี้: 600

จำนวนครั้งการเข้าชม: 789,456

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033