บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ Our Food & Health ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนภาษาอังกฤษ จากกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนอนุบาลนครพนม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 42 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและแบบวัดเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t–test ชนิด Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.70/84.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษจากกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษจากกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ มีเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน โดยหลังเรียนนักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนเรียน
Abstract
The purposes of this research were 1) to study and find out the efficiency of the developed English learning activities on Our Food and Health based on backward design for Prathom Suksa 5 at the standard criteria of 80/80 2) to compare English learning achievement before and after learning and 3) to compare English learning attitudes of students before and after learning. The samples consisted 42 Prathom Suksa 5 students, selected by purposive sampling at Anuban Nakhon Phanom School in the first semester of academic year 2009. The instruments
used for collecting data were lesson plan based on Backward design, English achievement test and attitudes towards learning English based on backward design. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test (dependent samples).
The results of this research were as follows:
1. The efficiency of the developed English learning activities was 86.70/84.05 than was higher that the defined criterion at 80/80.
2. Prathom Suksa 5 students participating in English activities based on Backward design had higher achievement scores before and after learning, at a significant level of 0.01.
3. Prathom Suksa 5 students participating in the English activities based on backward design had positive attitudes towards the English activities based on Backward design was at the high level.
กำลังออนไลน์: 15
วันนี้: 579
เมื่อวานนี้: 1,112
จำนวนครั้งการเข้าชม: 986,076
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033