บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอคนิชัน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้เมตาคอคนิชันกับเกณฑ์ที่กำหนด คือ สูงกว่าร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูง ปานกลาง ต่ำ ก่อนและหลังการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอคนิชัน 4) เปรียบเทียบความสามารถในเมตาคอคนิชันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอคนิชัน โดยการทดลองแบบกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนอนุบาลนครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอคนิชัน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.39-0.77 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.47-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.87 แบบบันทึกกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้และแบบวัดเมตาคอคนิชัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยการทดสอบ t-test Dependent Samples และ Wilcoxon T Test ที่ระดับนัยสำคัญ .05
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอคนิชัน มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอคนิชัน มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนมีค่าเท่ากับร้อยละ 85.08 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ สูงกว่าร้อยละ 70
3. นักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอคนิชัน ที่มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูง ปานกลาง และต่ำ มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอคนิชัน มีความสามารถในเมตาคอคนิชันหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this research was 1) to compare mathematics problem solving ability of Prathom Suksa 6 students before and after learning mathematics instruction using metacognitive strategies 2) to compare mathematics problem solving ability of Prathom Suksa 6 students before
and after learning mathematics instruction using metacognitive strategies with the criteria higher than 70 percent 3) to compare mathematics instruction using metacognitive strategies on mathematics problem solving ability of the students with high, moderate, and low mathematics
problem solving ability before and after using metacognitive strategies 4) to compare students’ metacognitive strategies ability of Prathom Suksa 6 students before and after learning mathematics instruction using metacognitive strategies. The sample consisted of 40 Prathom Suksa 6/1 students of Anubarnnakhonphanom School, under the Office of Nakhon Pranom Educational Service Area 1.
The instruments used in this study comprised a learning activity plan using metacognitive strategies, a mathematics problem solving ability test-the test of .39-.77 difficulty value, .47-1.00 discrimination value and 0.87 reliability value, a mathematics problem solving ability form, a learning
observation form and a mathematics ability test. The data was analyzed by using mean, standard deviation and percentage, t-test Dependent Samples and Wilcoxon T Test.
The findings of the study were as follows:
1. The mathematics problem solving ability of Prathom Suksa 6 students learning through activities using metacognitive strategies after the experiment was higher than that before learning at the .05 level of significance.
2. The mathematics instruction using metacognitive strategies on mathematics problem solving ability after learning mathematics instruction was 85.08 which was higher than 70 percent.
3. The mathematics problem solving ability of Prathom Suksa 6 students having high, moderate and low mathematics problem solving ability after learning through activities using metacognitive strategies was significantly higher than before learning at the .05 level of significance.
4. The metacognitive ability of Prathom Suksa 6 students learning through activities using metacognitive strategies after the experiment was higher than that before learning at the .05 level of significance.
กำลังออนไลน์: 19
วันนี้: 585
เมื่อวานนี้: 1,112
จำนวนครั้งการเข้าชม: 986,082
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033