...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2553
หน้า: 71-80
ประเภท: บทความวิจัย
View: 253
Download: 219
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เรื่องวัฒนธรรมชนเผ่าภูไทบ้านโนนกุง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโนนกุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1
Development of an Educational Institution Curriculum on Ban-Non-Kung, Phu Thai Tribe Culture for Prathom Suksa 6 at Ban Non Kung School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 1
ผู้แต่ง
อวยพร ออละมาลี, พชร มีกลาง, สุเทพ การุณย์ลัญจกร
Author
Uayporn Orlamalee, Pachara Meeklang, Suthep Karoonlanjakorn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรสถานศึกษา เรื่องวัฒนธรรมชนเผ่าภูไทบ้านโนนกุง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโนนกุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80  2)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรฯ และ 3)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรฯ ดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาหลักสูตร ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้หลักสูตร และขั้นตอนที่ 3 การประเมินหลักสูตร 

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโนนกุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 23 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ใช้รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที (t–test) ชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า  

1. หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมมากที่สุดและมีประสิทธิภาพ 83.932/84.672 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการเรียนโดยใช้หลักสูตรฯ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฯอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

This study aimed to develop an educational institution curriculum on Ban-Non-Kung, Phu Thai Tribe Culture for Prathom Suksa 6 at Ban Non Kung School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 1. The research objectives were (1) to explore efficiency of the educational institution curriculum on Ban-Non-Kung, Phu Thai Tribe Culture for Prathom Suksa 6 at Ban Non Kung School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 1 according to the efficiency criterion set at 80/80; (2) to compare learning achievements before and after instruction employing the educational institution curriculum; (3) to measure students’ opinions to the educational institution curriculum on Ban-Non-Kung, Phu Thai Tribe Culture.  This study concerning research and development comprised 3 steps.  Step 1 – Curriculum Development  Step 2 – Conducting an Experiment with the Curriculum: Instruments for experiment like learning achievement test, a learning management plan, and a measure of opinions to the educational institution curriculum entitled “Ban-Non-Kung, Phu Thai Tribe Culture” designed for Prathom Suksa 6 at Ban Non Kung School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 1 were administered to 23 Prathom Suksa 6 students as a sample.  The design for this experiment was one group pretest posttest.  Step 3 – Curriculum Evaluation: This step was to find quality of the curriculum based on analysis of the treatment results for evaluating the following: students’ scores during sessions of learning through the educational institution curriculum entitled “Ban-Non-Kung, Phu Thai Tribe Culture”, the students’ learning achievements before and after instruction using the Curriculum, and their opinions to the Curriculum after the treatment.

The findings of study are as follows:

1. The result of the average score for the total 18 plans was 83.932 and of the average achievement score after the treatment was 84.672. Hence, the Curriculum had efficiency of 83.932/84.672 which is higher than the set criterion of 80/80.

2. Students’ learning achievement after implementation of the Curriculum proved to be higher significantly than that before the treatment at the .01 level.  That is students after learning through the Curriculum had higher knowledge and understanding.

3. Students had opinions to every facet of the Curriculum at high and highest levels.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 13

วันนี้: 571

เมื่อวานนี้: 1,112

จำนวนครั้งการเข้าชม: 986,068

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033