...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2553
หน้า: 49-57
ประเภท: บทความวิจัย
View: 257
Download: 224
Download PDF
การเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบซินเนคติคส์ และแบบพาโนรามา
A Comparison of Analytical Reading and Creative Writing Abilities of Pathom Suksa 2 Students through Synectics Learning Activities and Panorama Learning Activities
ผู้แต่ง
ศรีสวัสดิ์ ใครบุตร, สมบัติ ท้ายเรือคำ, สำราญ กำจัดภัย
Author
Srisawat Kraiboot, Sombat Tayraukham, Sumran Gumjadphai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์ และแผนพาโนรามา ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์ และแผนพาโนรามาที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบความ สามารถด้านอ่านเชิงวิเคราะห์  และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์ และพาโนรามา 4) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์ และพาโนรามา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนเชิงชุมราษฎร์นุกูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 2 ห้อง ห้องละ 35 คน รวม 70 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบ Cluster Random Sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์ และแผนพาโนรามา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แบบทดสอบการอ่านเชิงวิเคราะห์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.88 และแบบทดสอบการเขียนเชิงสร้างสรรค์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.84 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมุมติฐานด้วย t-test (Dependent Samples) และ Hotelling’s T2 

ผลการวิจัยพบว่า

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์ และพาโนรามา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.07 /85.86 และ 84.95/86.39 ตามลำดับ

2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์ และพาโนรามา มีค่าเท่ากับ 0.69 และ 0.70 ตามลำดับ

3. ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์ และพาโนรามา หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติคส์ และพาโนรามาไม่แตกต่างกัน
 

Abstract

The purpose of this research was to: 1) develop learning activity plans based on a Synectics teaching model and a Panorama teaching model with a required efficiency of 80/80; 2) to investigate the efficiency index of the proposed learning activity plans of a Synectics teaching model and a Panorama  teaching model; and  3) to compare  analytical reading  and  creative  writing abilities of the students before and after the intervention; 4) to compare analytical reading  and creative writing  abilities of the students by means of the two teaching  models.  The  samples, obtained by Cluster Random Sampling technique, were two groups of 35 Prathomsuksa  2 students  at Choengchumrajnukool School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 1, in the first semester of the academic year 2009. One group studied by using the Synectics teaching model; the other group studied by using the Panorama teaching model.  The research instruments consisted of: 1) learning activity plans  based on the Synectics teaching model, and the Panorama teaching model, both of which were at the highest level of appropriateness; and 2) the analytical reading test had a reliability of 0.88, and the creative writing test had a reliability of 0.84.  The statistics for the data analysis were percentage, mean, and standard deviation. T-test (Dependent Samples) and the Hotelling’s  T2  were employed for testing hypotheses.

The findings were as follows: 

1. The learning activity plans based on the Synectics teaching model and the Panorama teaching model had an efficiency of 83.07/85.86 and 84.95/86.39 respectively.

2. The efficiency index of the learning activity plans based on the Synectics teaching model and the Panorama teaching model were 0.69 and 0.70 respectively.

3. The analytical reading and creative writing abilities of Prathomsuksa 2 students, who learnt from the Synectics teaching model and the Panorama teaching model, were higher after the intervention at a statistical significance level of .01.

4. Comparison study found no significant difference between Thai analytical reading and creative writing abilities of the two groups.
 


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 33

วันนี้: 609

เมื่อวานนี้: 1,112

จำนวนครั้งการเข้าชม: 986,106

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033