บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง การปลูกและดูแลสวนยางพารา โรงเรียนบ้านเป้าป่าแสด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร ตามเกณฑ์ 80/80 (E1/E2) และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการทำงาน และเจตคติต่อการเรียนของนักเรียนหลังเรียนหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง การปลูกและดูแลสวนยางพารา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเป้าป่าแสด าคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 19 คน โดยได้กลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบเจาะจง การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดี่ยวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การปลูกและดูแลสวนยางพารา โรงเรียนบ้านเป้าป่าแสด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการทำงาน และแบบวัดเจตคติต่อการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที (t-test) ชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การปลูกและดูแลสวนยางพารา โรงเรียนบ้านเป้าป่าแสด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหารมีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.83/82.23
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. คะแนนทักษะการทำงานของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับดีมาก
4. เจตคติที่มีต่อการเรียน ตามหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับดี
Abstract
This research aimed to develop and investigate the effectiveness of the school curriculum an Planting and Caring Para Rubber Garden according to the 80/80 criterion, examine the students’ learning achievement, working skills and attitudes towards the curriculum.
The subject were 19 Prathom Suksa 6 students, selected by purposive sampling, in the first semester of academic year 2009 at Banpaopasad School. The research was one group pretest-posttest design.
The instrument used were the developed school curriculum on Planting and Caring Para Rubber Garden, a learning achievement test, a working skill test, and an attitude test. The data were analyzed by t-test (dependent samples)
The findings were as follow:
1. The effectiveness of the school curriculum was 91.33/82.23.
2. The students’ learning achievement scores after learning through the developed curriculum were higher than before at .01 significant difference.
3. The average score of the students’ working skills was very high.
4. The student’s attitudes towards the curriculum were good.
กำลังออนไลน์: 17
วันนี้: 583
เมื่อวานนี้: 1,112
จำนวนครั้งการเข้าชม: 986,080
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033