...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2553
หน้า: 113-119
ประเภท: บทความวิจัย
View: 250
Download: 216
Download PDF
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง เทศกาลของชาวตะวันตก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
The Development of Computer-Assisted Instruction Program for English Subject Entitled “Celebrations of the Westerners” for Mathayom Suksa 1
ผู้แต่ง
นุจิรา ประทุม, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, วันเพ็ญ จันทร์เจริญ
Author
Nujira Pratoom, Bhumbhong Jomhongbhibhat, Wanpen Chancharoen

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง เทศกาลของชาวตะวันตก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอน โดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ก

ลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2553 จำนวน 35 คน โรงเรียนพรรณาวุฒาจารย์ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง เทศกาลของชาวตะวันตก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและความพึงพอใจในการเรียน โดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และร้อยละ (Percentage) วิเคราะห์ หาค่าผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน และความคงทนในการเรียนรู้ โดยใช้ t-test ชนิด Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 78.57/77.90 ตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

4. ความคงทนในการเรียนรู้หลังจากเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยลดลงร้อยละ  37.24

Abstract

The purposes of this study were to 1) develop a Computer- Assisted Instruction program for English subject, entitled “Celebrations of the Westerners” for Mathayom Suksa 1 of a standard efficiency of 75/75, 2) compare learning achievement before and after learning by the Computer- Assisted Instruction program, 3) examine students’ satisfaction towards the Computer-Assisted Instruction program, and 4) investigate knowledge retention of students. 

The samples of this study were 35 of Mathayom Suksa 1 students at Phannawuttajarn School, Pananikhom, Sakon Nakhon, who enrolled in the reading and writing skill program in the first semester of the academic year 2010. The samples were selected by using a Simple Random Sampling technique. The instruments of this study were the Computer-Assisted Instruction program for English subject, entitled “Celebrations of the Westerners”, an achievement test and a satisfaction questionnaire. Mean, standard deviation and percentage were used to analyse the efficiency of the Computer-Assisted Instruction program and the students’ satisfaction. The t-test (Dependent Samples) was employed to analyse learning achievement and knowledge retention of student.

The finding of this study were as follows :

1. The efficiency of the Computer-Assisted Instruction program for English subject entitled “Celebrations of the Westerners” for Mathayom Suksa 1, was 78.57/77.90, which indicated an acceptable level.

2. The students’ learning achievement after the intervention was significantly higher at the .01 level.

3. The students’ satisfaction towards the Computer-Assisted Instruction program for English subject, entitled “Celebrations of the Westerners” for Mathayom Suksa 1 was at an excellent level.

4. The knowledge retention of the students were reduced after two weeks significantly at the .01 level or 37.24 % in terms of body of knowledge.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 29

วันนี้: 985

เมื่อวานนี้: 873

จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,974

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033