...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2553
หน้า: 99-105
ประเภท: บทความวิจัย
View: 171
Download: 73
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง การทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2
Development of an Institutional Curriculum in the Work, Occupation, and Technology Learning Substance Group Entitled "Making Products from Bamboo" for the Sixth-Year Elementary Students at Ban Puai Thantawan Phitthayasun School Under the Office of Sakon N
ผู้แต่ง
ดวงกมล มหาโยธี, อุษา ปราบหงษ์, ลัดดาศรี อุดมสารเสวี
Author
Daungkamon Mahayotee, Usa Prabhong, Laddasi Udomsansewee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ 2) ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง การทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ หลังได้เรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ 4) ศึกษาทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียน ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ ที่ได้เรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ ที่มีต่อหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 30 คน และการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัย One Group Post-test Design

การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนาหลักสูตร 3) ทดลองใช้หลักสูตร 4) ประเมินและปรับปรุงหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบวัดทักษะการปฏิบัติงาน และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ ผู้ตรวจสอบความถูกต้อง และประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น พบว่ามีความเหมาะสมมากที่สุดสามารถนำไปใช้ได้

2. ผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ 93.31/85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดคือ 80/80

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ ที่ได้เรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นคะแนนหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 80   

4. ทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ ที่ได้เรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น อยู่ในระดับเฉลี่ยร้อยละ 96.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 80 

5. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ ที่มีต่อหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การทำผลิตภัณฑ์จาก ไม้ไผ่ อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The objectives of this study were (1) to develop an institutional curriculum in the work, occupation, and technology learning substance group entitled “Making Products from Bamboo” for the sixth-year elementary students at Ban Puai Thantawan Phitthayasun School, (2) to investigate the efficiency of the institutional curriculum in the work, occupation, and technology learning substance group entitled “Making Products from Bamboo” for the sixth-year elementary students at Ban Puai Thantawan Phitthayasun School based on the 80/80 standard criterion, (3) to examine learning achievement of the sixth-year elementary students at Ban Puai Thantawan Phitthayasun School after learning according to the institutional curriculum in the work, occupation, and technology learning substance group entitled “Making Products from Bamboo”, (4) to inquire into practical skills of the sixth-year elementary students at Ban Puai Thantawan Phitthayasun School, who learned according to the institutional curriculum in the work, occupation, and technology learning substance group entitled “Making Products from Bamboo”, and (5) to examine satisfaction of the sixth-year elementary students at Ban Puai Thantawan Phitthayasun School with the institutional curriculum in the work, occupation, and technology learning substance group entitled “Making Products from Bamboo”. The sample of this study was a group of the sixth-year elementary students in the second semester of academic year 2009 at Ban Puai Thantawan Phitthayasun School under the supervision of the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 2.  The methodology of the study was one-group post-test design.

Development of the curriculum comprised the steps as (1) studying basic data, (2) developing a curriculum, (3) implementing the curriculum, and (4) evaluating and improving the curriculum. The instruments used were the curriculum and supplementary documents of the learning management plan based on the institutional curriculum in the work, occupation, and technology learning substance group entitled “Making Products from Bamboo”, a test of learning achievement, a measure of practical skills, and a measure of satisfaction.  Statistics employed were percentage, mean, and standard deviation.

The findings were as follows:1.

The result of developing the curriculum in the work, occupation, and technology learning substance group entitled “Making Products from Bamboo” for the sixth-year elementary students at Ban Puai Thantawan Phitthayasun School School according to those who checked the correctness and evaluated the appropriateness of the developed curriculum and supplementary documents showed that it was appropriate for application.

2. The result of implementing the institutional curriculum in the work, occupation, and technology learning substance group as developed by this author entitled “Making Products from Bamboo” for the sixth-year elementary students  had efficiency values of 93.31/85.00, which were higher than the efficiency of a judged 80/80 standard criterion.

3. Achievement of the sixth-year elementary students at Ban Puai Thantawan Phitthayasun School after learning according to the institutional curriculum as developed by this author entitled “Making Products from Bamboo” revealed an average score of 85 percent which was higher than the anticipated standard criterion of 80 percent.

4. On average, practical skill of the sixth-year elementary students at Ban Puai Thantawan Phitthayasun School who learned according to the institutional curriculum in the work, occupation,and technology learning substance group as developed by this author entitled “Making Products from Bamboo” was 96.00 percent of the total score, which was higher than the anticipated standard criterion of  80 percent.

5. Satisfaction of the sixth-year elementary students at Ban Puai Thantawan Phitthayasun School with the institutional curriculum in the work, occupation, and technology learning substance group entitled “Making Products from Bamboo” was at the highest level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 196

เมื่อวานนี้: 705

จำนวนครั้งการเข้าชม: 794,196

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033