บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ แก้ปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านหนองแปน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3 จำนวน 17 คน ซึ่งเป็นนักเรียนที่อ่านพยัญชนะ สระได้ไม่ครบทุกตัว และอ่านคำในมาตราสะกดแม่ ก กาไม่ได้ การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัยตามกระบวนการ วิจัยปฏิบัติการ 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวินิจฉัยปัญหา 2) ขั้นศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหา 3) ขั้นวางแผนแก้ปัญหา 4) ขั้นปฏิบัติการแก้ปัญหาและประเมินผล 5) ขั้นประเมินผลรวม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยและประเมินประสิทธิภาพการอ่าน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ หาค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย นำข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติการทุกขั้นตอน มาวิเคราะห์ และปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผลการดำเนินการวิจัย
1. ผลการทดสอบการอ่านพยัญชนะของนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า นักเรียนทั้ง 17 คน สามารถอ่านพยัญชนะได้ครบทุกตัว
2. ผลการทดสอบการอ่านสระของนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า นักเรียน จำนวน 15 คน สามารถอ่านสระได้ครบทุกตัว ส่วนที่เหลืออีก จำนวน 2 คน อ่านสระไม่ได้อยู่ 2 ตัว คือ สระเอือะและสระเอือ
3. ผลการทดสอบการอ่านคำในมาตราสะกดแม่ ก กา จำนวน 30 คำ เป็นรายบุคคล พบว่า นักเรียนทั้ง 17 คน สามารถอ่านคำได้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 80
Abstract
The purpose of this research was to solve the level 1 students' illegibility problems by using an action research procedure. The target group of the study comprised of 17 students enrolling in level 1 in the second semester of 2009 academic year at Ban Nongpan School under the Office of Sakon Nakhon Educationnal Service Area 3. The action research was divided into 5 stages which were : 1) analysing the problems, 2) studying the ways to solve the problems, 3) planning to solve the problems, 4) solving the problems and assessing, and 5) evaluating.
The instruments used in the study were for : 1) analysing and evaluating reading efficiency, 2) operating, and 3) reflecting the outcomes of the experiment. The quantitative data were analysed by percentage and mean. The data from every stage of the experiment would be used for analysing and improving the instruction.
The findings of the study were as follows:
1. All of the students could pronounce every consonant.
2. The fifteen students could pronounce every vowel but the other two of them could not pronounce the short and the long vowels of [eua].
3. On the average of 80 percent, all of the students could pronounce 30 words in the groups of final consonant sounds in Thai.
กำลังออนไลน์: 20
วันนี้: 924
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,913
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033