...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2553
หน้า: 45-51
ประเภท: บทความวิจัย
View: 196
Download: 215
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ เรื่องสถิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Development of the Mathmatics Instructional Activities Based on Experiential Learning Approach on Statistics for Matthayom Suksa 3
ผู้แต่ง
เปรมฤดี จงรู้ธรรม, สำราญ กำจัดภัย, เบญจวรรณ รอดแก้ว
Author
Premrudee Jongrutham, Samran Gumjudpai, Benjawan Rodkhaew

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน วิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ เรื่องสถิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ เรื่องสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อน และหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ เรื่องสถิติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 22 คน ของโรงเรียนทรายมูลหนองกุงทรายศรีพิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และแบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบ 2 กลุ่มไม่อิสระกัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. แผนการจัดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.11/76.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ 75/75

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .053. เจตคติ

ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this study were 1) to develop the mathematics instructional activities Entitled “Statistics for Prathom Suksa 3” by using experiential learning approach which contained the standard efficiency of 75/75, 2) to compare the students’ learning achievements gained before and after they had learnt through the developed mathematics instructional activities Entitled “Statistics for Prathom Suksa 3” by using experiential learning approach, 3) to compare the students’ attitudes toward the developed mathematics instructional activities Entitled “Statistics for Prathom Suksa 3” by using experiential learning approach.

Selected by cluster random sampling technique, the subjects were comprised of 22 Matthayom Suksa 3 students who were  enrolling in the second semester of 2009 academic year at Saimoon Nongkungsaisripittaya School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 2. The tools used for collecting the data were learning plans constructed with the basis of experiential learning approach, an achievement test, and the questionnaire to survey the students’ attitudes toward the developed mathematics instructional activities. The statistics used for data analysis were mean, percentage, standard deviation and t-test (Two Dependent Samples).

The study found the following results:

1. The developed mathematics instructional activities Entitled “Statistics for Prathom Suksa 3” by using experiential learning approach had their efficiency of 80.11/76.07 which was higher than the established criteria of 75/75.

2. After the students had learnt through the developed mathematics instructional activities Entitled “Statistics for Prathom Suksa 3” by using experiential learning approach, their achievement was statistically higher than that of before at .05 level of significance.

3. After the students had learnt through the developed mathematics instructional activities Entitled “Statistics for Prathom Suksa 3” by using experiential learning approach, their attitude toward the constructed mathematics instructional activities was statistically higher than that of before at .05 level of significance.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 17

วันนี้: 954

เมื่อวานนี้: 873

จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,943

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033