...
...
เผยแพร่: 31 ธ.ค. 2553
หน้า: 39-44
ประเภท: บทความวิจัย
View: 494
Download: 224
Download PDF
การเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผล และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามปกติ
Comparisons of the effect and Creative Thinking Young Children as Researchers Learning and Traditional Approach
ผู้แต่ง
เทระวรรณ เสนารักษ์, นุชวนา เหลืองอังกูร, วิลัน จุมปาแฝด
Author
Terawan Senaruk, Nuchawana Luanganggoon, Virun Jumpafad

บทคัดย่อ

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยมีหลายรูปแบบซึ่งการจัดประสบการณ์ารเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามปกติต่างส่งผลให้เด็กได้คิดทั้งการคิดเชิงเหตุผลและความคิดสร้างสรรค์เหมาะสมกับวัย การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยระหว่างก่อนและหลังที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและการจัดการเรียนรู้ตามปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยระหว่างกลุ่มได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยกับกลุ่มที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กปฐมวัยที่กำลังเรียนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ศูนย์อำนวยการเครือข่ายธาตุนารายณ์ อำเภอเมืองสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 36 คน จาก 2 ห้องเรียน ได้มาโดยแบบสุ่มกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 2 ชนิด คือ 1) แผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย และแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามปกติ 2) แบบทดสอบ มีจำนวน 2 ฉบับ  ประกอบด้วย แบบทดสอบการคิดเชิงเหตุผล ซึ่งมีคาความยากง่าย รายข้อตั้งแต่ .33-.74 มีค่าอํานาจจําแนกรายขอตั้งแต .26-.80 ค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเทากับ .92 และแบบทดสอบความคิดสรางสรรคจากการวาดภาพ TCT-DP (Test of Creative Thinking-Drawing Production) ของเยลเลน และเออรบัน (Jellen and Urban) รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) กลุ่มทดลองและควบคุมที่แท้จริงวัดผลก่อนและหลังทดลอง (True control group Pretest-Posttest Design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สูตร t-distribution 

ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

1. เด็กปฐมวัยกลุ่มที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและเด็กปฐมวัยกลุ่มที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามปกติมีมีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลและความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลและความคิดสร้างสรรค์หลังทดลองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

โดยสรุปการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยส่งเสริมให้เด็กมีการคิดเชิงเหตุผลและคิดสร้างสรรค์หลังทดลองสูงขึ้นกว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามปกติ

Abstract

There are several models of organization of learning experiences for early-childhood children.  An organization of researcher child learning experiences and an organization of traditional learning experiences can all cause children to think both reasonable thinking and creative thinking as appropriate to their age.  The purpose of this study were : 1) to compare reasonable thinking and creative thinking of early-childhood children between before and after receiving the organization of researcher child learning experiences and the organization of traditional learning experiences, and 2) to compare reasonable thinking and creative thinking of early-childhood children between the group receiving the organization of researcher child learning experiences and the group receiving the organization of traditional learning experiences.  The sample used in the study consisted of 36 early-childhood children from 2 classrooms at the Kindergarten 2 level attending That Narai Network Directing Center in the second semester of the academic year 2009, obtained using the cluster random sampling technique.  Two types of the instruments used in this study were : 1) plans for the organization of researcher child learning experiences and plans for the organization of traditional learning experiences, 2) two tests : a reasonable thinking test with difficulties ranging .33-.74, discriminating powers ranging .26-.80, and reliability of .92 ; and Jellen and Urban’s Test of Creative Thinking-Drawing Production.  The research design was experimental research.  An experimental group and a true control group used pretest-posttest design. The statistics used for analyzing the collected data were mean and standard deviation ; and t-distribution was employed for testing hypotheses.

The results of the study were as follows:

1.  The early-childhood children in the group receiving the organization of research child learning experiences and those in the group receiving the organization of traditional learning experiences had higher reasonable thinking and creative thinking abilities after the experiment than before the experiment at the .01 level of significance.

2.  The early-childhood children receiving the organization of research child learning experiences had higher reasonable thinking and creative thinking abilities after the experiment than those in the group receiving the organization of traditional learning experiences at the .05 level of significance.

In conclusion, the organization of researcher child learning experiences could promote children to increase their reasonable thinking and creative thinking abilities after the experiment to be higher than the organization of traditional learning experiences.  Therefore, teachers should  implement the method of the organization of researcher child learning experiences in learning-teaching organization for developing early-childhood children to achieve the learning objectives in the future.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 30

วันนี้: 995

เมื่อวานนี้: 873

จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,984

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033