บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลชุดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 24 คน โรงเรียนบ้านคำสว่าง ปีการศึกษา 2550 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ คือ ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ 10 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผล
การวิจัย พบว่า
1. กิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86/80.83
2. กิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.68
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purposes of the research were: 1) to develop and analyze the efficiency of the Thai language instructional activity packages for improving analytical reading by using publishing materials materials, 2) to investigate the effectiveness index of the Thai language instructional activity packages and 3) to Compare the students’ learning achievement before and after learning. The samples were 24 Prathom Suksa 6/2 students, students, selected by random sampling, at Ban Kumsawang School under the Office of Nakon Phanom Education Service Area 1 in academic year 2007. The research was one Group Pretest-Posttest Design. The instruments used were 10 instructional activity packages. The statistics employed were percentage, mean and standard deviation.
The results of the study were as follows:
1. The efficiency of the developed instructional activity packages was 86/80.83.
2. The index of effectiveness of the developed instructional activity packages was 0.68.
3. The posttest average of the students learning through the developed instructional activity packages was higher than the pretest average score at the .01 level of significance.
กำลังออนไลน์: 31
วันนี้: 996
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,985
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033