บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 3 และเพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรพัฒนาขึ้นในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1) ความรู้ความเข้าใจในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง 2) เจตคติ ต่อการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 และชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี จำนวน 18 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการทดลอง แบบ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตรอบรมผู้ปกครอง แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบวัดเจตคติของผู้ปกครอง แบบสังเกตทักษะการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง และแบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรง ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และ t-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า
1. ผู้ปกครองที่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรอบรมที่พัฒนาขึ้น มีผลการทดสอบความรู้ ความเข้าใจในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ผู้ปกครองที่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรอบรมที่พัฒนาขึ้น มีเจตคติต่อการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purposes of this research were to develop a training program for parents on Child rearing of Pre-School children at Banmaisamakkee School under the Office of Nongkhai Education Service Area 3, and to identify the implementation of the curriculum developed in 2 aspects : 1) parents’ training program on knowledge and understanding 2) parents’ training program on attitudes toward the rearing pre-school children.
The subjects were 18 parents of pre-school children level 1 and 2, at Banmaisamakkee School using purposive random technique. This study used one group pretest-posttest design. The instruments used in this study were 1) a Training Program for Parents Curriculum, 2) an comprehension test, 3) an attitude toward the rearing pre-school children test, the observation form of training program on raising skills pre-school children and, the questionaire. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, validity, difficulty, discrimination, reliability and t-test (dependent).
The results were as follows:
1. The parents’ knowledge and understanding training program curriculum was higher than before training at the .01 level of significance.
2. The parents’ attitudes toward the raising pre-school children training program curriculum was higher than before training at the .01 level of significance.
กำลังออนไลน์: 19
วันนี้: 930
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,919
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033