...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2554
หน้า: 157-163
ประเภท: บทความวิจัย
View: 130
Download: 81
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้พหุสัมผัส เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพะเนาว์ราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1
Development of Creative Activities Using Multi-Sensibility for Enhancing Creative Thinking among the Second Grade Kindergarten Children in Ban Phanao Ratbamrung School
ผู้แต่ง
อัมรา พรหมสาขา ณ สกลนคร, พจมาน ชำนาญกิจ, อุษา ปราบหงษ์
Author
Ammara Phrommasakha, Potchaman Chamnankit, Usa Prabhong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้พหุสัมผัส เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ 2) หาประสิทธิภาพของกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้พหุสัมผัส เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ 3) หาประสิทธิผลของกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้พหุสัมผัสเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และ 4) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพะเนาว์ราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร  เขต 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้พหุสัมผัส ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest–Posttest Design) ใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กกลุ่มเดียวกันที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านพะเนาว์ราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) กิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้พหุสัมผัสเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ 2) แผนการจัดประสบการณ์การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้พหุสัมผัสเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 3) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างสรรค์ และ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมความคิดสร้างสรรค์ จากการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้

1. กิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้พหุสัมผัส เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพะเนาว์ราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 ได้ประสิทธิภาพ เท่ากับ  81.15/83.33  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คือ 80/80

2. กิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้พหุสัมผัส เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพะเนาว์ราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6791  แสดงว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.6791 คิดเป็นร้อยละ 67.91

3. ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพะเนาว์ราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 หลังได้รับกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้พหุสัมผัสสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้พหุสัมผัส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้ค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples เท่ากับ 3.857

Abstract

The objectives of this study were (1) to construct creative activities using multi-sensibility for enhancing creative thinking, (2) to examine efficiency of creative activities using multi-sensibility for enhancing creative thinking, (3) to investigate effectiveness of creative activities using multi-sensibility for enhancing creative thinking and (4) to compare creative thinking among the second year kindergarten children in Ban Phanao Ratbamrung School under the supervision of the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 1 before the creative activities using multi-sensibility are done with that after the treatment.  The author employed a one-group pretest-posttest design.  The sample selected by purposive sampling was population of the second grade kindergarten children totaling 21persons in academic year 2009 at Ban Phanao Ratbamrung School under the supervision of the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 1. The findings can be concluded as follows :

1. The creative activities using multi-sensibility for enhancing creative thinking among the second grade kindergarten children in Ban Phanao Ratbamrung School under the supervision of the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 1 obtained efficiency of 81.15/83.33 which is higher than the criterion determined.

2. The creative activities using multi-sensibility for enhancing creative thinking among the second grade kindergarten children in Ban Phanao Ratbamrung School under the supervision of the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 1 possessed an efficiency index value of 0.68. Thus, children’s knowledge increased 68 %.

3. Creative thinking of the second grade kindergarten children in Ban Phanao Ratbamrung School under the supervision of the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 1 after the treatment using multi-sensibility displayed a higher level significantly than that before the experiment at the .01 level based on t-test of dependent samples (t-value received = 3.857).


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 4

วันนี้: 299

เมื่อวานนี้: 652

จำนวนครั้งการเข้าชม: 796,925

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033