...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2554
หน้า: 139-147
ประเภท: บทความวิจัย
View: 137
Download: 77
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ 3 นาฏศิลป์ เรื่อง ฟ้อนดอกมันปลา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองปลาดุก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
Development of the Educational Institution Curriculum of the Third Art-Learning Substance Group-Dramatic Performance Art entitled “Fon Dok Mun Pra” for Lower Secondary Students of Ban Nong Pradook School under the Office of Nakhon Phanom Elementary Educ
ผู้แต่ง
พัชรา สิกขา, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, จตุรงค์ โพนสูงเนิน
Author
Pachara Sigka, Bhumbong Jomhongbhibhat, Jaturong Ponsoongnern

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระที่ 3 นาฏศิลป์ เรื่อง ฟ้อนดอกมันปลา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองปลาดุก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 2) ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรสถานศึกษา สาระที่ 3 นาฏศิลป์ เรื่อง ฟ้อนดอกมันปลา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองปลาดุก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ตามเกณฑ์ ประสิทธิภาพ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรสถานศึกษา สาระที่ 3 นาฏศิลป์ เรื่อง ฟ้อนดอกมันปลา 4) ศึกษาทักษะการปฏิบัติท่ารำของนักเรียนที่เกิดจากการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง ฟ้อนดอกมันปลา 5) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหลักสูตรสถานศึกษา สาระที่ 3 นาฏศิลป์ เรื่องฟ้อนดอกมันปลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านหนองปลาดุก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 จำนวน 30 คน และการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัย One Group Pre-test-Post–test Design

การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การพัฒนาหลักสูตร 3) การทดลองใช้หลักสูตร 4) การประเมินและปรับปรุงหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ 3 นาฏศิลป์ เรื่อง ฟ้อนดอกมันปลา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการปฏิบัติท่ารำฟ้อนดอกมันปลา และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าที (t–test  Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ 3 นาฏศิลป์ เรื่อง ฟ้อนดอกมันปลา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองปลาดุก โดยผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องและประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น พบว่ามีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้

2. ประสิทธิภาพของหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ 3 นาฏศิลป์ เรื่อง ฟ้อนดอกมันปลา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองปลาดุก ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 86.26/84.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังได้เรียนรู้ตามหลักสูตรสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ทักษะปฏิบัติท่ารำฟ้อนดอกมันปลาของผู้เรียนที่ได้เรียนรู้ตามหลักสูตรอยู่ในระดับเฉลี่ยร้อยละ  85.32 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 80 

5. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหลักสูตร อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยร้อยละ 4.87 ซึ่งอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were to : 1) develop the educational institution curriculum of the third art-learning substance group-dramatic performance art entitled Fon Dok Mun Pra for lower secondary students of Ban Nong Pradook School under the Office of Nakhon Phanom Elementary Education Service Area 1, 2) investigate efficiency of the curriculum of the third art-learning substance group-dramatic performance art entitled Fon Dok Mun Pra for lower secondary students of Ban Nong Pradook School under the Office of Nakhon Phanom Elementary Education Service Area 1 on the basis of 80/80, 3) compare the students’ learning achievement before and after they had learnt through the educational institution curriculum of the third art-learning substance group-dramatic performance art entitled Fon Dok Mun Pra, 4) study performance practice skills of students which they had used the educational institution curriculum entitled Fon Dok Mun Pra, and 5) study students’ satisfaction in the educational institution curriculum of the third art-learning substance group-dramatic performance art entitled Fon Dok Mun Pra. The subjects of this study were 30 lower secondary students of Ban Nong Pradook School under the Office of Nakhon Phanom Elementary Educational Service Area 1. One Group Pretest Posttest Design was used.

The research procedure proceeded under the concept of curriculum development procedure as follows : 1) Analysis of curriculum foundation, 2) Curriculum construction, 3) Curriculum implementation, and 4) Curriculum evaluation and improvement. The instruments used in this study were the educational institution curriculum of the third  art-learning substance group-dramatic performance art entitled  Fon Dok Mun Pra for lower secondary students of Ban Nong Pradook School under the Office of Nakhon Phanom Elementary  Educational Service Area 1, the achievement test, the performing dance practice skills test, and the questionnaire to survey the students’ satisfaction of the educational institution curriculum of the third art-learning substance group-dramatic performance art entitled Fon Dok Mun Pra for lower secondary students of Ban Nong Pradook School under The Office of Nakhon Phanom Elementary Education Service Area 1. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, and t-test (Dependent Samples).

The results of this research were:

1. The educational institution curriculum of the third art-learning substance group-dramatic performance art entitled Fon Dok Mun Pra for lower secondary students of Ban Nong Pradook School under the Office of Nakhon Phanom Elementary Educational Service Area 1, evaluated by experts, was found that the curriculum and supplementary materials were appropriate to be used.

2. The efficiency of the educational institution curriculum of the third art-learning substance group-dramatic performance art entitled Fon Dok Mun Pra for lower secondary students of Ban Nong Pradook School under the Office of Nakhon Phanom Elementary Educational Service Area 1 was 86.26/84.94 which was higher than the basis set at the beginning.

3. The students’ learning achievement was higher than before the treatment by this curriculum with the significant difference at the .01 level.

4. The students’ performing dance practice skills was 85.32% which was higher than 80% criteria level.

5. On the average, the students had their satisfaction of this curriculum at 4.87 which was at the highest level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 11

วันนี้: 284

เมื่อวานนี้: 522

จำนวนครั้งการเข้าชม: 797,432

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033