บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายคือ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เรื่องการนวดแผนไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านป่าผาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาสกลนคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เรื่องการนวดแผนไทยที่พัฒนาขึ้นโดยศึกษาด้านต่างๆ ดังนี้ 2.1) ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรสถานศึกษา ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ตามหลักสูตรสถานศึกษา 2.3) ศึกษาทักษะการนวดแผนไทยของนักเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด 2.4) เปรียบเทียบเจตคติต่อการนวดแผนไทยของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้น และ 2.5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาและสำรวจข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนาหลักสูตร 3) ทดลองใช้หลักสูตร และ 4) ประเมินและปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านป่าผาง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 29 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา เรื่องการนวดแผนไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านป่าผาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรสถานศึกษา เรื่องการนวดแผนไทยที่พัฒนาขึ้นพบว่า 2.1) หลักสูตรสถานศึกษามีประสิทธิภาพ 84.61/82.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่80/80 2.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่ผ่านการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.3) ทักษะการนวดแผนไทยของนักเรียนที่ได้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 83.17 ของคะแนนเต็ม ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 2.4) เจตคติต่อการนวดแผนไทยของนักเรียนที่ผ่านการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2.5) ความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา เรื่องการนวดแผนไทยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76
Abstract
The purposes of this research were to: 1) develop the school curriculum of Career and Technology Learning Substance Group entitled “Thai Traditional Massages” for Mathayom Suksa 3 of Ban Paphang School under the Office of Sakon Nakhon Elementary Educational Service Area 1, 2) evaluate the implementation of this proposed school curriculum in terms of: 2.1) investigating its efficiency to meet the standard efficiency of 80/80, 2.2) comparing the students’ learning achievement before and after the intervention, 2.3) investigating the students’ Thai traditional massages skills required as given criteria, 2.4) exploring the students’ attitudes towards the Thai traditional massages before and after the intervention, and 2.5) examining students’ attitudes toward learning through this school curriculum.
The study was divided into four phrases: Phrase I was related to examining the current positioning of school curriculum, Phrase II was to establish the school curriculum, Phrase III was related to implementing the developed school curriculum. The samples, obtained through purposive sampling technique, were 29 Mathayom Suksa 3 students of Ban Paphang School in the first semester of the academic year 2010, and Phrase IV was to evaluate and refine the developed school curriculum.
The findings were as follows:
1. The educational expert panel revealed that this school curriculum and supplementary materials were appropriately used at the highest level.
2. The results of the implementation of this school curriculum revealed that:
2.1) The efficiency of this school curriculum was 84.61/82.17, which was higher than a standard efficiency at 80/80. 2.2) After the intervention, the students’ learning achievement scores were at a .01 level of significance.
2.3) Students’ Thai traditional massages skills were higher than the criteria of 70 percent set, that is, 83.17.
2.4) After the intervention, students’ attitudes towards Thai traditional massages were higher at a .01 level of significance.
2.5) After the intervention, the students reported their satisfaction towards This developed school curriculum at the highest level with a mean of 4.76.
กำลังออนไลน์: 28
วันนี้: 1,010
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,999
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033