...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2554
หน้า: 113-124
ประเภท: บทความวิจัย
View: 171
Download: 85
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของไวกอตสกี้ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษา และความสามารถในการกำกับตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
The Development of English Instructional Activities Based on Vygotsky’s ZPD for enhancing English language Skills and Self-Regulation of Mathayom Suksa 6 Students
ผู้แต่ง
พราวพร นิลเขต, ไพสิฐ บริบูรณ์, กาญจนา จันทะดวง
Author
Praoporn Nilkhet, Paisit Boriboon, Kanjana Chanthaduang

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของไวกอตสกี้ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาและความสามารถในการกำกับตนเอง  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (2) เปรียบเทียบทักษะทางภาษาระหว่างก่อนและหลังการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของไวกอตสกี้ (3) ศึกษาทักษะทางภาษาหลังการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของไวกอตสกี้กับเกณฑ์การประเมินที่กำหนด (4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการกำกับตนเองก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของไวกอตสกี้ 

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพรรณาวุฒาจารย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

ผลการวิจัยพบว่า

1.  ทักษะทางภาษาอังกฤษของนักเรียน ที่ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของไวกอตสกี้หลังการร่วมกิจกรรม สูงกว่าก่อนการได้ร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.  ทักษะทางภาษาของนักเรียนที่ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของไวกอตสกี้หลังร่วมกิจกรรมนั้น คิดเป็นร้อยละ 83.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้

3.  ความสามารถในการกำกับตนเองของนักเรียนที่ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ตามแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของไวกอตสกี้หลังร่วมกิจกรรม ซึ่งนักเรียนทำการประเมินตนเอง สูงกว่าช่วงก่อนร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อครูทำการประเมินความสามารถดังกล่าวปรากฏผลเช่นกันว่า ความสามารถช่วงหลังร่วมกิจกรรมนั้นสูงกว่าช่วงก่อนร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบวัดความสามารถในการกำกับตนเองเพิ่มเติมและแบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า นักเรียนสามารถตั้งเป้าหมาย วางแผนการทำงาน มีการดำเนินงาน ตลอดจนสามารถติดตามงานได้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ ยังทำให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ได้แก่ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน และนักเรียนกับครูผู้สอน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการให้ความช่วยเหลือกันและกัน เกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง ตลอดจนสามารถนำความรู้และทักษะทางภาษาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้

Abstract

The purposes of this research are: (1) To develop English instructional activities based on Vygotsky’s ZPD in order to enhance English language skills and self regulation of Mathayom suksa 6 students, (2) To compare English language skills of Mathayom suksa 6 students between before and after participating in English instructional activities based on Vygotsky’s ZPD, (3) To study English language skills of Mathayom suksa 6 after participating the English instruction activities based on Vygotsky’s ZPD justified by the evaluative set rate. (4) To compare capacity of self regulation of Mathayom suksa 6 students between before and after participating in English instructional activities based on Vygotsky’s ZPD.

The subjects of this research selected by cluster random sampling are 40 students in one class of Mathayom suksa 6, Pannawudhajara School, 2nd semester, academic year of BE 2553.

The findings of this research are as follows:

1.  English language skills of students who participated in the English instructional activities based on Vygotsky’s ZPD are higher than those of before doing the activities. Its statistic significant level is at .01.

2.  Percentage of English language skills of students who participated in English instructional activities based on Vygotsky’s ZPD is 83.06.  It is higher than the set rate.

3.  Students’ capacity of self regulation after participating in English instructional activities base on Vygotsky’s ZPD evaluated by the students themselves is higher than that of before participating in the activities. Its statistic significant level is .01. In addition, the students’ capacity of self regulation evaluated by teacher is also the same that of students with the statistic level of .01

4.  The analytical result of qualitative data according to the assessment form of self-regulation and the learning log reveal that students are able to set the objectives, plan, do and check their work on their own. Besides, they gain their desirable characteristics such as avidity for learning, good attitude toward learning English, interaction among students and a teacher or students and students, exchanging and assisting one another, pride in their own work and being able to apply knowledge and language capacity in their real lives.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 291

เมื่อวานนี้: 652

จำนวนครั้งการเข้าชม: 796,917

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033