...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2554
หน้า: 95-102
ประเภท: บทความวิจัย
View: 139
Download: 74
Download PDF
การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและ การลบจำนวนหลายหลักของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองแคนโคกสะอาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Action Research for Developing Ability of Solving Problems of Addition and Subtraction of Several Digit Numbers for Prathom Suksa 4 Students at Ban Nongkaen Koaksa-ard School under the Office of Sakon Nakhon Elementary Educational Service Area 2
ผู้แต่ง
สุดารัตน์ ไชยรา, สำราญ กำจัดภัย, เบญจวรรณ รอดแก้ว
Author
Sudarat Chaiyara, Sumran Gumjadpai, Benjawan Rodkaew

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนหลายหลักของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองแคนโคกสะอาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ภายหลังปฏิบัติการพัฒนาให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน      ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านหนองแคนโคกสะอาด จำนวน 15 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา จำนวน 4 ชุด 2) แบบบันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน 4) แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน และ 5) แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนหลายหลัก

การวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา 2) ขั้นเตรียมการและออกแบบนวัตกรรมเพื่อใช้ในการพัฒนา 3) ขั้นปฏิบัติการนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนา และ 4) ขั้นประเมินและสรุปผลการพัฒนา โดยดำเนินการพัฒนาเป็น 4 วงรอบ คือ วงรอบที่ 1 พัฒนาพื้นฐานการบวกและการลบ วงรอบที่ 2 พัฒนาโจทย์ปัญหาการบวก วงรอบที่ 3 พัฒนาโจทย์ปัญหาการลบ และวงรอบที่ 4 พัฒนาโจทย์ปัญหาการบวกลบระคน แล้วนำข้อมูลสะท้อนที่ได้จากการพัฒนาในแต่ละวงรอบมาวิเคราะห์ และปรับแผนพัฒนาในวงรอบต่อไป

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภายหลังการพัฒนานักเรียนทั้ง 15 คน มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนหลายหลัก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม

2. การนำกระบวนการวิจัยปฏิบัติการมาใช้ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้สามารถพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบจำนวนหลายหลักของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ ทำให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน ไม่เบื่อหน่าย และมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ เนื่องจากเป็นการเรียนรู้จากกิจกรรมที่มีสาระการเรียนรู้จากง่ายไปยาก นักเรียนได้เรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามความสามารถของแต่ละบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนสามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการช่วยเหลือกัน กล้าแสดงออก และมีความรอบคอบในการทำงานมากขึ้น

Abstract

This study was aimed at developing ability of solving problems of addition and subtraction of several digit numbers for Prathom Suksa 4 students at Ban Nongkaen koaksa–ard school under the Office of Sakon Nakhon Elementary Educational Service Area 2 to pass the set criteria of 70 percent after the development action.  The target group were 15 Prathom Suksa 4 students who were studying in the first semester of 2010 academic year at Ban Nongkaen koaksa–ard school.

The instruments used in the development consisted of 1) 4 learning packages for enhancing the student’ ability of solving problems, 2) the form for recording the results gained after the activities had been arranged for the students, 3) the observation form used to record the students’ behaviors, 4) the students’ learning form, and 5) the test to measure the student’ ability of solving  problems of addition and subtraction of several digit numbers.

This research adopted action research which had 4 stage i.e. 1) studying the status of the  existing problems and analyzing the problems so as to find their causes, 2) preparing and designing the innovations which would be used for the development, 3) monitoring the innovations constructed for the development, 4) evaluating and summarizing the development which had been monitored by subdivided this development process into 4 spirals, namely, 1) developing basic knowledge of addition and subtraction, 2) developing problems of addition to be solved, 3) developing problems of subtraction to be solved, 4) developing problems for both addition and subtraction to be solved then all the data gained from each spiral would be used for the analysis and adjustment in the next  spirals.

The study revealed the following outcomes:

1.  After the development process, all 15 students could pass the set criteria of 70 percent of their ability of solving problems of addition and subtraction of several digit numbers.

2.  The adoption of an action research in collaboration with learning packages could develop Prathom Suksa 4 students’ ability of solving the problem of addition and subtraction of several digit numbers.  This adoption also provided fun, non-boredom as well as enthusiasm for  doing learning activities. This was because the activities were arranged from simple to hard ones; the activities were divided into stages which could effectively enhance each student’s ability; the students could work in groups which could enable them to help one another to be confident and  prudent to perform and to work.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 63

เมื่อวานนี้: 522

จำนวนครั้งการเข้าชม: 797,211

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033