...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2554
หน้า: 75-81
ประเภท: บทความวิจัย
View: 201
Download: 81
Download PDF
การพัฒนาชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง รูปเรขาคณิตและรูปทรงเรขาคณิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Development of Instructional Packages Based on Theory of Multiple Intelligences Entitled “Geometry and Geometric Figure” for Prathom Suksa 6
ผู้แต่ง
นภาพร วงศ์ประทุม, ประยูร บุญใช้, สุนทร ไชยชนะ
Author
Naphaporn Vongpratum, Prayoon Boonchai, Suntorn Chaichana

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง รูปเรขาคณิตและรูปทรงเรขาคณิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนหลังเรียน ด้วยชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา 4) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกลาง “ผดุงราษฎร์วิทยา” อำเภอกุดบาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 36 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง เรขาคณิตและรูปทรงเรขาคณิต แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ (Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง รูปเรขาคณิตและรูปทรงเรขาคณิต มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.21/76.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้

2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง รูปเรขาคณิตและรูปทรงเรขาคณิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยสร้าง และพัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 0.64 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน ร้อยละ 64

3. ค่าความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง รูปเรขาคณิตและรูปทรงเรขาคณิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.05) 

4. ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับหลังสิ้นสุดการทดลองไปแล้ว 2 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่านักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้

5. ความสามารถทางพหุปัญญาทุกด้านของผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

Abstract

Purpose of the Study

This study aimed 1) to develop and investigate the efficiency of the mathematics Instructional packages based on the Theory of Multiple Intelligences. The instructional packages designed to have an efficiency value of no less than 75/75, was intended to be used in teaching geometry and geometric figures for Prathom Suksa 6 students, 2) to examine the value of effectiveness index of the instructional packages, 3) to evaluate the students’ satisfaction with the instructional activities after the use of the instruction packages, and 4) to investigate the students’ learning retention after the use of the instructional packages.

The sample consisted of 36  Prathom Suksa 6 students from Ban Klang Phadungratwittaya School Amphur Kutbak, Sakon Nakhon Educational Region 2. The instruments used were mathematics-learning lesson plans entitled Geometry and Geometric Figures based on the Theory of Multiple Intelligences, achievement tests of mathematics, and a set of questionnaires used to inquire about the students’ satisfaction with the learning activities. The information obtained was analyzed by using means, standard deviation, percentage, and t-test.

Findings

1. The efficiency value of the instructional package was 80.21/76.67 which was higher than previously assigned. 

2. The value of effectiveness index of the instructional packages was 0.64. It meant that the students’ learning growth was 64 percent.

3.  The students’ satisfaction with the instructional packages was at the high level (means score = 4.05).

4.  The difference of the means scores of the achievement tests administered after learning and two weeks after the experiment was significant at 0.05 level of significance. It meant that the students’ learning was retentive.

5. The ability of the students’ multiple intelligences showed a better change.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 5

วันนี้: 483

เมื่อวานนี้: 652

จำนวนครั้งการเข้าชม: 797,109

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033