...
...
เผยแพร่: 23 ก.ย. 2562
หน้า: 57-63
ประเภท: บทความวิจัย
View: 127
Download: 75
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฏีพหุปัญญา เรื่อง เกษตรน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Development of the Instructional Activities Based on the theory Of Multiple Intelligences Entitled “Interesting Agriculture” in the Learning Substance of Career and Technology for Prathom Suksa 5
ผู้แต่ง
สิริศักดิ์ สุภาษร, ประยูร บุญใช้, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์
Author
Sirisak Supasorn, Prayoon Boonchai, Bhumbhong Jomhongbhibhat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง เกษตรน่ารู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง เกษตรน่ารู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เกษตรน่ารู้ ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีพหุปัญญา 4) ศึกษาเจตคติต่อกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีพหุปัญญาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5         

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดพระธาตุพนม “พนมวิทยาคาร” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 จำนวน 26 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดเจตคติต่อกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง เกษตรน่ารู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที (t–test) แบบ Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. กิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง เกษตรน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.12/84.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ คือ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง เกษตรน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนมีเจตคติต่อกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง เกษตรน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับดีมาก

Abstract

The purposes of this study were: 1) to develop the instructional activities which were based on the theory of Multiple Intelligence entitled “Interesting Agriculture” for Prathom Suksa 5, 2) to investigate the efficiency of the developed instructional activities which were based on the theory of multiple intelligence entitled “Interesting  Agriculture” for Prathom Suksa 5 in comparison with the set efficiency of 80/80,      3) to compare the students’ achievements gained before and after they had learn through the developed instructional activities, 4) to study the students’ attitude forwards the developed instructional activities which were based on the theory of multiple intelligence.

Purposively selected, the subjects were 26 Prathom Suksa 5 students who were studying in the second semester of the 2009 academic year at “Phanomwittayakan” Watphathatphanom School under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1.

The instruments used in this research were the lesson plans constructed on the basis of theory of multiple intelligence, the achievement test, and the questionnaire used to measure the students’ attitude toward the developed instructional activities based on the theory of multiple intelligence entitled “Interesting Agriculture”. The data was analyzed by t–test (Dependent Samples).

The results found were as follows:

1. The developed instructional activities based on the theory of multiple intelligences entitled “Interesting Agriculture” in the learning Substance of Career and Technology for Prathom Suksa 5 had their efficiency of 88.19/84.10 which was higher than the set criteria of 80/80.   

2. After the students had learnt through the developed instructional activities based on the theory of multiple intelligence entitled “Interesting Agriculture” in the Learning Substance of Career and Technology for Prathom Suksa 5, their achievement was statistically higher than that of before at .01 level of significance.

3. After the students had learnt through the developed instructional activities base on the theory of multiple intelligence entitled “Interesting Agriculture” in the Learning Substance of Career and Technology for Prathom Suksa  5, their attitude towards these constructed instructional activities was at the highest level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 5

วันนี้: 458

เมื่อวานนี้: 652

จำนวนครั้งการเข้าชม: 797,084

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033