...
...
เผยแพร่: 5 ก.ย. 2561
หน้า: 101-111
ประเภท: บทความวิจัย
View: 219
Download: 219
Download PDF
การพัฒนาชุดการเรียนแบบสืบเสาะร่วมกับการเรียนแบบไตรสิกขาที่ส่งเสริม ความมีวินัยในตนเอง การแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
The Development of Learning Packages Using Inquiry Approach with Trisikka Learning to Promote Self Discipline, Problem Solving and Learning Achievement of Mathemematics Learning Substance Group for Prathomsuksa 6 Students
ผู้แต่ง
ศศิมา เชียงแสน, มารศรี กลางประพันธ์, สมเกียรติ พละจิตต์
Author
Sasima Chiangsaen, Marasri Klangprapan, Somkiat Palajit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนแบบสืบเสาะร่วมกับการเรียนแบบไตรสิกขา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความมีวินัยในตนเอง 3)เปรียบเทียบการแก้ปัญหา 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) เปรียบเทียบความมีวินัยในตนเอง การแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีระดับความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน (กลุ่มสูง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มต่ำ) หลังเรียนด้วยชุดการเรียนแบบสืบเสาะร่วมกับการเรียนแบบไตรสิกขา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนชุมชนบ้านไชยบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดการเรียนแบบสืบเสาะร่วมกับการเรียนแบบไตรสิกขา จำนวน 4 ชุดการเรียน 2) แบบทดสอบวัดความมีวินัยในตนเอง 3) แบบทดสอบวัดการแก้ปัญหา 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t–test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One–Way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (One–Way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-way ANCOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ชุดการเรียนแบบสืบเสาะร่วมกับการเรียนแบบไตรสิกขา มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 85.53/83.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

2. ความมีวินัยในตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยชุดการเรียนแบบสืบเสาะร่วมกับการเรียนแบบไตรสิกขา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. การแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยชุดการเรียนแบบสืบเสาะร่วมกับการเรียนแบบไตรสิกขา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยชุดการเรียนแบบสืบเสาะร่วมกับการเรียนแบบไตรสิกขา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกัน (สูง ปานกลาง ต่ำ) หลังเรียนด้วยชุดการเรียนแบบสืบเสาะร่วมกับการเรียนแบบไตรสิกขา มีทักษะความมีวินัยในตนเอง การแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปรากฏผลดังนี้

5.1 นักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์สูง มีความมีวินัยในตนเอง สูงกว่านักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ปานกลาง และต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5.2 นักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์สูง มีการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ปานกลาง และต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5.3 นักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์สูง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ปานกลาง และต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this study were to 1) Develop of Learning Packages Using Inquiry Approach with Trisikka Learning with efficiency of 80/80 2) compare Self Discipline 3) compare Problem Solving 4) compare Learning Achievement 5) compare Self Discipline, Problem Solving and Learning Achievement of Prathomsuksa 6 Students there are different emotional intelligence in the high, medium and low between pretest and posttest. The sample consisted of 25 Prathomsuksa 6 Students of the 2014 academic year at chumchonbanchaiburee School under the Office of the Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2 by using Cluster Random Sampling through the school as the random unit. The instruments were composed of: 1) 4 Learning Packages Using Inquiry Approach with Trisikka, 2) test of Self Discipline, 3) test of Problem Solving, 4) test of learning achievements, and 5) a measure of emotional intelligence Department of Mental Health Ministry of Public Health. The statistics use to analyze data were percentage, mean, standard deviation, t–test (Dependent Samples), Analysis of Variance (ANOVA), Multivariate Analysis of Variance (MANCOVA) and One-way ANCOVA.

The results of this research were as follows:

1. The efficiency of the Development of Learning Packages Using Inquiry Approach with Trisikka Learning was 85.53/83.30 respectively.

2. The students’ Self Discipline after using Learning Packages was higher than before using Learning Packages at the .05 level of significance.

3. The students’ Problem Solving after using Learning Packages was higher than before using Learning Packages at the .05 level of significance.

4. The students’ learning achievements after using Learning Packages was higher than before using Learning Packages at the .05 level of significance.

5. Students there are different emotion intelligence (high, medium and low) after using Learning Packages in Self Discipline, Problem Solving and learning achievements was differences at the .05 level.

5.1 The students whose emotional intelligence level was high had self discipline higher than those whose emotional Intelligence level was moderate or low at the .05 level.

5.2 The students whose emotional intelligence level was high had problem solving higher than those whose emotional intelligence level was moderate or low at the .05 level.

5.3 The students whose emotional intelligence level was high had learning achievements higher than those whose emotional intelligence level was moderate or low at the .05 level.

คำสำคัญ

การเรียน, การเรียนแบบสืบเสาะ, การเรียนแบบไตรสิกขา, ความมีวินัยในตนเอง, การแก้ปัญหา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความฉลาดทางอารมณ์

Keyword

Learning Packages, Inquiry Approach, Learning Trisikka, Self Discipline, Problem Solving, Learning Achievement, emotion intelligence
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 39

วันนี้: 840

เมื่อวานนี้: 1,300

จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,875

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033