บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแต่งคำประพันธ์ไทย สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแต่งคำประพันธ์ไทยของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยที่ได้รับการสอนด้วยชุดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคผังกราฟิกระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2553 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 28 คน ได้มาด้วยการคัดเลือกจากผลของการทดสอบวัดความสามารถในการแต่งคำประพันธ์ไทย จากกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อน ในอัตราส่วน 1 : 2 : 1 แบบแผนการวิจัยใช้แบบ One Group Pretest Posttest Design
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแต่งคำประพันธ์ไทย สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 6 ชุด และ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแต่งคำประพันธ์ไทย ประกอบด้วย ตอนที่ 1 เป็นคำถามแบบปรนัยชนิด 5 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และตอนที่ 2 เป็นแบบอัตนัยชนิดให้แต่งคำประพันธ์ จำนวน 2 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแต่งคำประพันธ์ไทย สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.86/84.14
2. ความสามารถในการแต่งคำประพันธ์ไทยของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ที่ได้รับการสอนด้วยชุดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคผังกราฟิกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purposes of this research were 1) to develop learning packages using the cooperative learning model and the graphic organizer technique to enhance the ability to write Thai Poetry for students who were studying for a bachelor’s Degree in Education in Thai Program of Sakon NaKhon Rajabhat University, and 2) compare the students’ ability to write Thai Poetry after and before they were taught by the aforementioned developed packages.
The samples used were 28 Thai Program studying at Sakon Nakhon Rajabhat University in the second year of Faculty of Education in 2010. They were screened by the result of their achievement test to measure the ability to write Thai Poetry. Then, representatives from the students groups whose abilities were at the high, moderate and to poor levels were selected at the proportion of 1 : 2 : 1, to be the subjects of this study which One Group Pretest Posttest Design was adopted.
The instruments consisted of (1) six learning packages which were designed by using the cooperative learning model and the graphic organizer technique so as to enhance the ability to write Thai Poetry for Thai Program students who were studying for a Bachelor’s Degree in Education, (2) the test to measure the students ability to write Thai Poetry. This test was divided into 2 section 1 included 30 multiple choice questions (five-alternatives for each question). Whereas Section 2 was comprised of two subjective question which assigned the students to compose Thai Poetry.
The outcomes were as follows:
1. The efficiency of the developed packages by using the cooperative learning model and the graphic organizer technique to enhance the ability to write Thai Poetry for students who were studying for a Bachelor’s Degree in Education in Thai Program was 82.86/84.14.
2. After the Thai Program students of the Faculty of Education had learnt through the developed learning packages by using the cooperative learning model and the graphic organizer technique to enhance the ability to write Thai Poetry, their ability to write Thai Poetry was statistically higher than that of before at .01 level of significance.
กำลังออนไลน์: 35
วันนี้: 1,003
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,992
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033