บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยและเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการสอนอ่านตามกระบวนการสอนอ่านแบบปฏิบัติการและเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการสอนโดยใช้กระบวนการสอนอ่านแบบปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนอนุบาลเจริญศิลป์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3 อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร จำนวน 25 คน แบบแผนในการทดลอง คือ แบบ One Group Pre–test Post–test Design เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการสอนอ่านแบบปฏิบัติการ จำนวน 20 แผน แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามวัดเจตคติต่อการอ่านภาษาไทย จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t–test Dependent Samples)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้กระบวนการสอนอ่านแบบปฏิบัติการ มีความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้กระบวนการสอนอ่านแบบปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้กระบวนการสอนอ่านแบบปฏิบัติการ มีเจตคติต่อการอ่านภาษาไทยสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้กระบวนการสอนอ่านแบบปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purposes of this research were 1) to compare Prathom Suksa 5 students’ reading comprehensions gained before and after they had learnt through the operational reading process based on the established criteria of 80 percent, 2) to compare Prathom Suksa 5 students’ attitudes gained before and after they had learnt through the oparational reading process. The subjects consisted of 25 Prathom Suksa 5 students enrolling in the first semester of 2009 academic year at Anuban Charoensin School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 3. One group pretest posttest design was adopted for this study. The instruments used included 20 lesson plans which were constructed according to the Oparational reading process, a 40–item test used to measure students’ reading comprehension of Thai Language and a 20-item questionnaire used to measure the students’ attitudes toward reading Thai Language. The statistics employed for analyzing the data were mean, percentage, standard deviation and t–test (Dependent Samples).
The study revealed the following results:
1. After the students had learnt through the oparational reading process, their comprehension of reading Thai was statistically higher than that of before at .01 level of significance.
2. After the Students had learnt through the oparational reading process, their Attitude toward reading Thai was statistically higher than that of before at .01 level of significance.
กำลังออนไลน์: 23
วันนี้: 938
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,927
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033