...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2554
หน้า: 9-15
ประเภท: บทความวิจัย
View: 208
Download: 218
Download PDF
การพัฒนาชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องสมการและการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Development of Mathematical Instructional Packages using Problem-Based Learning on the Equation and Equation Solving for Prathom Suksa 6
ผู้แต่ง
ศศินันท์ บุทธิจักร์, สุพรรณี สมพงษ์, ศรีจันทร์ ทานะขันธ์
Author
Sasinan Butthichak, Supunnee Sompong, Srichan Tanakan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องสมการและการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 4) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน ที่ได้รับการสอนด้วยชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านนาทาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบคู่ขนาน 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ประสิทธิภาพของนวัตกรรม E1/E2 และสถิติทดสอบ t–test ชนิด Dependent Samples 

ผลการวิจัยพบว่า

1. ชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สมการและการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 79.89/76.79 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้

2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อยู่ในระดับมาก 

4. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องสมการและการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนและคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน 2 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือนักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้

Abstract

The purposes of this research were : 1) to develop the instructional package using Problem-Based Learning on the Equation and Equation Solving for Prathom Suksa 6 to the required criteria of 75/75, 2) to compare the achievement of learning mathematical between the pre-learning and the post-learning, 3) to examine satisfaction with learning using Problem-Based Learning, and 4) to examine learning retention of students learning through instructional packages using Problem-Based Learning. The sample group consisted of 24 Prathom Suksa 6 students of Ban Natam School under the Office of Mukdahan Educational Service Area in the first semester of academic year 2010. The group was selected by purposive sampling technique. The tools used in this experiment were : 1) the learning package using Problem-Based Learning, 2) a test of achievement by parallel learning, and 3) scale on satisfaction with the learning packages using Problem-Based Learning. The data were analyzed by mean, standard deviation, percentage, efficiency of learning package (E1/E2), and t-test (Dependent Samples).

The results of the study were as follows:

1. The instructional packages by using Problem-Based Learning on the Equation and Equation Solving for Prathom Suksa 6 had efficiency of 79.89/76.79 which was the same as required efficiency of 75/75.

2. The students who learned with the learning packages using Problem-Based Learning had post-learning achievement higher than pre-learning at the .05 level of significance.

3. The students who learned through the learning packages using Problem-Based Learning had a high satisfaction with using Problem-Based Learning.

4. The students who learned through the learning packages using Problem-Based Learning on the Equation and Equation Solving for Prathom Suksa 6 had post-learning achievement and learning achievement after learning for 2 weeks. It was different without statically significance at .05 that meant the students had retention of their knowledge gained from learning through the developed material.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 23

วันนี้: 976

เมื่อวานนี้: 873

จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,965

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033