...
...
เผยแพร่: 5 ก.ย. 2561
หน้า: 89-100
ประเภท: บทความวิจัย
View: 212
Download: 218
Download PDF
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และการมีภูมิคุ้มกัน เรื่อง ดิน หิน แร่ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร การเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
The Development of Science Process Skills, Reasonableness, Moderation, and Self-Immunity for the Subject of Soil, Rocks and Minerals By Using the 7E Learning Cycle and Philosophy of Sufficiency Economy in the Subject Area of Science of Mathayomsuksa 2 St
ผู้แต่ง
ศราวุธ ตาสาโรจน์, พิทักษ์ วงษ์ชาลี, ถาดทอง ปานศุภวัชร, ปัญญา นาแพงหมื่น
Author
Saravut Tasarod, Pithak Wongchalee, Thardthong Pansuppawat, Panya Napangmuen

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) เปรียบเทียบความสามารถด้านการมีเหตุผล ความพอประมาณ และการมีภูมิคุ้มกัน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสีชมพูศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดด้านความมีเหตุผล ความพอประมาณ และการมีภูมิคุ้มกัน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์หาค่าที t-test ชนิด Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.43/78.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้

2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก

3. ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และการมีภูมิคุ้มกัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.63)

Abstract

This research aimed to 1) develop lesson plans in the Subject Area of Science for Mathayomsuksa 2 students by using the 7E learning cycle and philosophy of sufficiency economy with a required efficiency criterion of 75/75; 2) study the science process skills of Mathayomsuksa 2 students by using the 7E learning cycle and philosophy of the sufficiency economy; 3) compare reasonableness, moderation and Self-Immunity of Mathayomsuksa 2 students before and after studying with the 7E learning cycle and philosophy of the sufficiency economy; 4) compare the science learning achievement of Mathayomsuksa 2 students before and after studying with the 7E learning cycle with philosophy of the sufficiency economy; and 5) study the satisfaction of Mathayomsuksa 2 students toward the learning management by using the 7E learning cycle and philosophy of sufficiency economy. The sample for this study consisted of 30 Mathayomsuksa 2 students in the second semester of the academic year 2016 of Sichomphusuksa School. Instruments for the research included: Lesson plans; an assessment form on students’ science process skills; the tests concerning reasonableness, moderation, and self–immunity; a learning achievement test and students’ satisfaction assessment form. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and the dependent samples t-test.

The findings from this research were as follows:

1. The lesson plans in the Subject Area of Science for Mathayomsuksa 2 students by using the 7E learning cycle and philosophy of sufficiency economy had the efficiency of 78.43/78.92, which was higher than the set criterion of 75/75.

2. The science process skills of Mathayomsuksa 2 students by using the 7E learning cycle and philosophy of the sufficiency economy was at a high level.

3. The reasonableness moderation and Self-Immunity of Mathayomsuksa 2 students after learning through the 7E learning cycle and philosophy of sufficiency economy were higher than those of before at the .01 level of significance.

4. The science learning achievement of Mathayomsuksa 2 students after learning through the 7E–learning cycle and philosophy of sufficiency economy was higher than that of before at the .01 level of significance.

5. The satisfaction of Mathayomsuksa 2 students toward the learning management by using the 7E learning cycle and philosophy of the sufficiency economy was at the highest leve.

คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักการเรียนรู้ 7 ขั้น, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, ความมีเหตุผล, ความพอประมาณ, การมีภูมิคุ้มกัน

Keyword

7E Learning Cycle, Philosophy of Sufficiency Economy, Reasonableness, Moderation, and Self-Immunity
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 16

วันนี้: 857

เมื่อวานนี้: 1,300

จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,892

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033