บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่องการเลี้ยงควายไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านน้อยทวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 3) ศึกษาทักษะในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เกิดจากการใช้หลักสูตรสถานศึกษา และ 4) เปรียบเทียบเจตคติ ต่อการเลี้ยงควายไทยของนักเรียนก่อนและหลังเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้หลักสูตร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านน้อยทวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ , S.D., ร้อยละ และ t-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรสถานศึกษาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่องการเลี้ยงควายไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านน้อยทวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 มีประสิทธิภาพ 84.75/83.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ที่ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง การเลี้ยงควายไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านน้อยทวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ทักษะในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เกิดจากการใช้หลักสูตรสถานศึกษาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง การเลี้ยงควายไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านน้อยทวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 อยู่ในระดับร้อยละ 79.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 70
4. เจตคติต่อการเลี้ยงควายไทยของนักเรียนหลังเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่องการเลี้ยงควายไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านน้อยทวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purpose of this research were : 1) To develop the additional school curriculum on Thai Buffalo Feeding for Prathom Suksa 6 student at Ban Noitouy school under the officer of Nakon Phanom Primary Educational service area 2 on to meet the efficiency of the 80/80 set criterion, 2) To compare students’ learning achievement between before and after learning through the developed additional school curriculum, 3) To study practical skills of the student learning through the developed additional school curriculum Thai Buffalo Feeding and 4) To compare the student’ attitudes towards between before and after learning through the developed additional school curriculum. The sample group was 15 Prathom Suksa 6 students at Ban Noitouy school under the officer of Nakon Phanom Primary Educational service area 2. The statistics used were mean, standard deviation, percentage, and t-test. (Dependent Samples).
The result of this research were as follows :
1. The efficiency of developed additional school curriculum on Thai Buffalo Feeding was 84.75/83.55 which was higher than the basic criterion of 80/80.
2. The student’ learning achievement after learning through the developed additional school curriculum was higher than before at the .01 level of significance.
3. The students’ practical skills after learning through the developed additional school curriculum was at the percentage of 79.17 which was higher than the expected criterion (70%).
4. The posttest average score of the students’ attitude towards the developed additional school curriculum was higher than before learning at the .01 level of significance.
กำลังออนไลน์: 50
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,527
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,516
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033