บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาสอดแทรกเทคนิคผังกราฟิกระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาสอดแทรกเทคนิคผังกราฟิกกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนด 3) ศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาสอดแทรกเทคนิคผังกราฟิก
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่าอุเทนพัฒนา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม จำนวน 28 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาสอดแทรกเทคนิคผังกราฟิก แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ แบบวัดเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนวิจัย One–Group Pretest–Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t–test ชนิด Dependent Samples
ผลการวิจัย พบว่า
1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาสอดแทรกเทคนิคผังกราฟิกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาสอดแทรกเทคนิคผังกราฟิกมีค่าเท่ากับ 73.75 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70
3. นักเรียนมีเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาสอดแทรกเทคนิคผังกราฟิกอยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of this research were to: 1) compare the English reading comprehension abilities by using metacognitive strategy infused with graphic organizer technique between of the pre–reading with the post–reading 2) compare the English reading comprehension abilities by using metacognitive strategy infused with graphic organizer technique for Mathayom Suksa 1 students to achieve the scores 70 ; and 3) study attitude for Mathayom Suksa 1 students taught by using metacognitive strategy infused with graphic organizer technique.
The sampling group consisted of 28 Mathayom Suka 1 students, selected by cluster random sampling technique, in Thautanpattana School, Thautan District, Nakonpanom Province. The research tools were lesson plans by using metacognitive strategy infused with graphic organizer technique, a reading comprehension test, and an attitude test. The research was one–group pretest–posttest design. The data were analyzed by percentage means of arithmetic mean, standard deviation, and t–test (Dependent Samples).
The results of this research were as follows:
1. The posttest average scores of the English reading comprehension the abilities of the students learning by using metacognitive strategy infused with graphic organizer technique were higher than the pretest scores at the .01 level of significance.
2. The posttest average scores of the English reading comprehension abilities of the students learning by using metacognitive strategy infused with graphic organizer technique was 73.75 which were higher than the standard criteria of 70.
3. The posttest average scores of attitude toward English reading comprehension of the students learning by using metacognitive strategy infused with graphic organizer technique were at the high level.
กำลังออนไลน์: 43
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,579
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,567
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033