...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2554
หน้า: 147-152
ประเภท: บทความวิจัย
View: 226
Download: 217
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิซึม โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อเสริมสร้าง ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
Development of Learning Activities Based on Constructivism Through Rhythm and Movement Activities to Reinforce Mathematical Concepts of Kindergarten Level II Students
ผู้แต่ง
ดอกไม้ สุริโย, เบญจวรรณ รอดแก้ว, พจมาน ชำนาญกิจ
Author
Dokmai Suriyo, Benjawan Rodkaew, Potchaman Chamnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนตรัคติวิซึม โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อเสริมสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนตรัคติวิซึม โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนตรัคติวิซึม โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อเสริมสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านนาเพียงเก่าสนธิราษฎร์สามัคคี อำเภอกุสุมาลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนตรัคติวิซึม โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อเสริมสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบระหว่างเรียน จำนวน 4 เรื่อง การจำแนกเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ การรู้ค่าจำนวน 1-10

ผลการวิจัย พบว่า 

1. กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนตรัคติวิซึม โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อเสริมสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.00/95.96

2. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนตรัคติวิซึม โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อเสริมสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนตรัคติวิซึม โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อเสริมสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เท่ากับ 0.90 แสดงว่าหลังเรียนนักเรียนมีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ตั้งแต่ 0.05 ขึ้นไป

Abstract

The purposes of this research 1) To development and test the effectiveness of learning activities based on constructivism through rhythm and movement activities to reinforce mathematical concepts of kindergarten level II students with a 80/80 performance criteria. 2) To compare the mathematical concepts of kindergarten level II students between before and after learning with learning activities based on constructivism through movement and rhythm activities. 3) To study the effectiveness of learning activities based on constructivism through rhythm and movement activities to reinforce mathematical concepts of kindergarten level II students. The sample used in this study were kindergarten level II students, Semester 2 Academic Year 2553 from Ban Napiang Sonthirat Samukkee Shool, Kusuman District, The Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 were 20 students who were selected purposively (Purposive Sampling). Tool used in this study was plan of learning activities based on constructivism through rhythm and movement activities to reinforce mathematical concepts, Mathematical Concepts Test, and Tests during the course of 4 cases were by comparison, classification, sorting, and Knowing the value of 1-10.

The results of this research were as follows:

1. Learning activities based on constructivism through rhythm and movement activities to reinforce mathematical concepts of Year 2 kindergarten students has an efficiency at 91.00/95.96.

2. Students studied with plan of learning activities based on constructivism through rhythm and movement activities to reinforce mathematical concepts had average scores in mathematical concepts after learning higher than the pre learning statistical significance at the .01.

3. Index of the effectiveness of learning activities based on constructivism through rhythm and movement activities to reinforce mathematical concepts of the students was 0.90 indicating that after all students have the mathematical concepts more through the criteria set from 0.05 up.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 39

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,462

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,451

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033