...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2554
หน้า: 139-145
ประเภท: บทความวิจัย
View: 290
Download: 217
Download PDF
การพัฒนาชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยการเรียนรู้ แบบร่วมมือ ร่วมกับการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Development of Mathematics Instructional Pakage using Cooperative Learning and Constructivism on Addition, Subtraction, Multiplication and Division of Fraction for Prathom Suksa 6
ผู้แต่ง
อัคครา แถบเงิน, สำราญ กำจัดภัย, เบญจวรรณ รอดแก้ว
Author
Akkara Tabngern, Sumran Kamjadpai, Benjawan Rodkaew

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมกับการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเมืองสกลนคร (ธาตุนารายณ์เจงเวง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมกับการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน โดยการทดสอบค่าที (t-test) ชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน (Dependent Samples)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 82.64/81.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this study were: 1) to develop an Instructional Pakage using Cooperative Learning and Constructivism on Addition Substruction, Multiplication and Divition of Fraction for Prathaom Suksa 6 on the standard efficiency of 80/80, 2) to compare the learning achievement before and after learning by the Instructional Pakage and 3) to study the satisfaction with the Instruction Pakage.

The samples of the study were 36 Prathom Suksa 6 students from Muangsakonnakhon School who enrolled in the first semester of the 2011 academic year. The samples were selected by using Cluster Random Sampling technique.

The instruments of this study included 1) Instructional Pakage using Cooperative Learning and Constructivism on Addition Substruction, Multiplication and Divition of Fraction for Prathaom Suksa 6, 2) a set of learning achievement test form and 3) a set of questionnaires of satisfaction with the Instructional Pakage.

To analyze the efficiency of the Instructional Pakage using Cooperative Learning and Constructivism on Addition Substruction, Multiplication and Divition of Fraction for Prathom Suksa 6 and the satisfaction, mean, standard deviation and percentage were used. To analyze the learning achievement and retention of students, t-test (Dependent Samples) were employed. 

The findings of this were as follows:

1. The efficiency of the Instructional Pakage was 82.64/81.46.

2. The learning achievement of the Instructional Pakage was significantly different at the .01 level.

3. The satisfaction with the Instructional Pakage was at the highest level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 32

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,601

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,590

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033