...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2554
หน้า: 123-130
ประเภท: บทความวิจัย
View: 180
Download: 163
Download PDF
การพัฒนาการสอนซ่อมเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง นิทานพื้นบ้านไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้
The Remedial Teaching Development for English Reading Skills Using Computer-Assisted Instruction on “Thai Folktales” for Prathom Suksa 5 Students With Learning Disabilities
ผู้แต่ง
รัชดาภรณ์ อินทร์จันทร์, วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์, คารม ไปรยะพรหม
Author
Ratchadaporn Injun, Vijittra Vonganusith, Karom Bhaiyaproma

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาการสอนซ่อมเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง นิทานพื้นบ้านไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังได้รับการสอนซ่อมเสริมโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง นิทานพื้นบ้านไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาแรงจูงใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 “รัฐประชานุเคราะห์” สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 6 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง นิทานพื้นบ้านไทย ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่าน และแบบวัดแรงจูงใจที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนวิจัย One–Group Pretest–Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t–test ชนิด Dependent Samples

ผลการวิจัย พบว่า

1. การสอนซ่อมเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง นิทานพื้นบ้านไทย มีประสิทธิภาพ ระหว่าง E1/E2 เท่ากับ 76.25/73.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 70/70

2. หลังการเรียนการสอนซ่อมเสริมทักษะการอ่าน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง นิทานพื้นบ้านไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. หลังการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง นิทานพื้นบ้านไทย นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษในระดับมาก

Abstract

The purposes of this research were to: 1) develop the remedial teaching for English reading skills using Computer-assisted Instruction on “Thai Folktales” for Prathom Suksa 5 students with learning disabilities on standard efficiency of 70/70 ; 2) to compare the learning achievement of the students before and after learning after the remedial teaching for English reading skills using the Computer-Assisted Instruction on “Thai Folktales”, and 3) to examine the students’ motivation toward learning English.

The samples, obtained through purposive sampling technique, consisted of 6 Prathom Suksa 5 Students of Tessabal 4 “Ratprachanukrua” school, Muang Sakon Nakon district, Sakon Nakon province,   in the second semester of the academic year 2009. The research design was one-group pretest–posttest.  The instruments of this research included the developed remedial teaching for English reading skills through Computer-assisted Instruction on “Thai Folktales” for Prathom Suksa 5 students with learning disabilities, a learning achievement test and the motivation assessment form.  The data were analyzed by means, percentage, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).

The findings of this research were as follows:

1. The efficiency of the developed remedial teaching for English reading skills using Computer-Assisted Instruction on “Thai Folktales” for Prathom Suksa 5 students with learning disabilities was 76.25/73.75 which were higher than the standard criteria of 70/70.

2. The posttest average score of the students after learning by using Computer-Assisted Instruction on “Thai Folktales” was higher than the pretest score at the .01 level of significance.

3. The motivation in learning English of Prathom Suksa 5 students was at the high level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 9

วันนี้: 464

เมื่อวานนี้: 639

จำนวนครั้งการเข้าชม: 790,036

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033