...
...
เผยแพร่: 5 ก.ย. 2561
หน้า: 77-87
ประเภท: บทความวิจัย
View: 411
Download: 148
Download PDF
การสังเคราะห์งานวิจัยที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (CIPPA Model) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
A Synthesis of Researches on CIPPA Model
ผู้แต่ง
ประยูร บุญใช้
Author
Prayoon Boonchai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (CIPPA Model) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้วิจัยได้สังเคราะห์งานวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาที่พิมพ์เผยแพร่ในระหว่างปี พ.ศ.2542-2560 โดยสืบค้นจากฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์โครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย Thailis–Thai Library Integrated System จำนวน 164 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบบันทึกสรุปรายละเอียดของงานวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการนับความถี่ คำนวณค่าสถิติร้อยละ และใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. ข้อมูลพื้นฐานและคุณลักษณะของงานวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) ปี พ.ศ.2555 มีการทำวิจัยมากที่สุด 2) มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นสถาบันที่ทำวิจัยมากที่สุด 3) สาขาวิชาที่ทำวิจัยมากที่สุด คือ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน 4) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลองมากที่สุด 5) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามากที่สุดเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6) เนื้อหาสาระที่ใช้ในการศึกษามากที่สุด คือ คณิตศาสตร์ 7) วิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่มมากที่สุด 8) แบบแผนการวิจัยที่ใช้มากที่สุด คือ One Group Pretest Posttest Design 9) จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้มากที่สุด คือ 1 กลุ่ม 10) จำนวนตัวอย่างของกลุ่มทดลองส่วนใหญ่มีจำนวน 31-40 คน 11) ตัวแปรตามที่ศึกษามากที่สุด คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 12) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมากที่สุด คือ แบบทดสอบ 13) สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมากที่สุด คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 14) สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานมากที่สุด คือ t-test

2. จากการสังเคราะห์ผลของการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (CIPPA Model) เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ช่วยเสริมสร้างและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในด้านการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา ความสามารถในการคิด ทักษะกระบวนการกลุ่ม ตลอดจนเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้

Abstract

The purpose of this research was to synthesize the researches on CIPPA Model. The population  was 164 theses and independent studies which were conducted between 1999–2017 B.C. collecting by the electronic database of Thailis–Thai Library Integrated System. The research tool used was  recording form for research detail summary created by the researcher. The data analyzed by the used of frequency, percentage and content analysis.

Results were as follows:

1. The data base and the characteristics of the research on CIPPA Model were: 1) researches on  CIPPA Model were conducted the most in 2012 B.C., 2) Mahasarakham University conducted the most, 3) the field of curriculum and instruction conducted the most, 4) the methodology employed most was  the experimental method, 5) the subjects used most were students from lower secondary level, 6) the  content studied most was mathematics, 7) the cluster random sampling technique was employed the  most, 8) one group pretest posttest design was used the most, 9) the number of experiment sample  was one group, 10) the samples consisted of 31-40 participants, 11) the dependent variable studied  most was learning achievement, 12) the research instrument used most was achievement test, 13) simple statistics which were used the most consisted of mean and standard deviation, and 14) t-test was found the most for any statistical hypothesis testing.

2. The results from the qualitative method revealed that after using CIPPA Model all students’  learning outcomes were positively changed. The CIPPA Model gave high effectiveness and supported  students’ learning achievement, thinking ability, group process skills, and positive attitude toward learning.

คำสำคัญ

การสังเคราะห์งานวิจัย, รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา

Keyword

Synthesis of Researches, CIPPA Model
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 468

เมื่อวานนี้: 600

จำนวนครั้งการเข้าชม: 789,401

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033