...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2554
หน้า: 57-65
ประเภท: บทความวิจัย
View: 161
Download: 73
Download PDF
การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรียงความ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมกับผังกราฟิก
Development of Composition Writing Ability of Prathom Suksa 6 Students by Using Cooperative Learning and Graphic Organizer
ผู้แต่ง
นงนุช ธรรมวิเศษ, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, ลัดดาศรี อุดมสารเสวี
Author
Nongnuch Thammawiset, Bhumbhong Jomhongbhibhat, Laddasri Udomsansewee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีความมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับผังกราฟิก 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับผังกราฟิกกับเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรียงความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านวังยาง (วังยางวิทยานุกูล) ปีการศึกษา 2553 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับผังกราฟิก แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนเรียงความ และแบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรียงความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับผังกราฟิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบค่าที (t-test) ชนิดไม่อิสระจากกัน (Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความสามารถด้านการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับผังกราฟิก สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. ความสามารถด้านการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับผังกราฟิก ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ปรากฏว่ามีนักเรียนผ่านเกณฑ์ 18 คน คิดเป็นร้อยละ 75 ไม่ผ่านเกณฑ์  6 คน คิดเป็นร้อยละ 25

3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรียงความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับผังกราฟิกอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this study were: 1) to compare Prathom Suksa 6 students’ ability to write composition gained before and after using cooperative learning and graphic organizer, 2) to compare Prathom Suksa 6 students’ composition ability with the established standard, 3) to investigate the students’ satisfaction of learning through the cooperative learning and graphic organizer. The samples were 24 Prathom Suksa 6 students studying in 2010 at Ban Wangyang School (Wangyangwittayanukul). They were selected by cluster random sampling. The instruments included the learning plans to develop the students’ composition writing ability, the test to measure the students’ ability to write composition, and the measurement form to examine the students’ satisfaction of their learning through using cooperative methodology and graphic organizer.

The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation, percentage and t–test (Dependent Samples).

The results of this study found were as following:

1. After using cooperative learning and graphic organizer, Prathom Suksa 6 students’ ability to write composition was statistically higher than that of before at .01 level of significance.

2.  After using cooperative learning and graphic organizer, Prathom Suksa 6 students’ ability to write composition passed 80 percent. 18 students could pass this criteria which equaled 75 percent, while 6 students could not which equaled 25 percent. 

3.  Prathom Suksa 6 students’ satisfaction of the constructed learning plans to develop their composition writing ability by using cooperative learning and graphic organizer was at the highest level.


ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 83

เมื่อวานนี้: 639

จำนวนครั้งการเข้าชม: 789,655

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033